หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Lixisenatide วันละครั้ง สำหรับควบคุมโรคเบาหวาน

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 4 เดือน เมษายน ปี 2556 -- อ่านแล้ว 4,239 ครั้ง
 
ยา lixisenatide เป็นยาที่เพิ่งได้รับการอนุมัติให้ใช้ในยุโรป จะวางจำหน่ายโดย Sanofi ภายใต้ชื่อการค้า Lyxumia เพื่อใช้เสริมการรักษาโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ในรายที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาเดิม lixisenatide เป็นยาตัวแรกในกลุ่ม GLP-1 agonist ที่ใช้ฉีดเพียงวันละหนึ่งครั้ง ก่อนรับประทานอาหารมื้อเช้าหรือมื้อเย็น (ความแตกต่างของมื้ออาหารที่ใช้ยาไม่ทำให้เกิดความแตกต่างในการควบคุมระดับน้ำตาล) ดังนั้นคนไข้สามารถเลือกเวลาที่ตนสะดวกได้lixisenatide ออกฤทธิ์กระตุ้นที่ตัวรับ GLP-1 สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยเฉพาะระดับน้ำตาลหลังมื้ออาหารได้ดี และช่วยทำให้น้ำหนักตัวลดลง

GetGoal-M เป็นการศึกษาที่เจ็ด ของการศึกษาทางคลินิกระยะที่ 3 ของยา lixisenatide ใช้อาสาสมัครคนไข้เบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ด้วยการรับประทาน metformin เดี่ยวๆ จำนวน 680 ราย อาสาสมัครถูกสุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับ lixisenatide ในตอนเช้า (n=255), กลุ่มที่ได้รับ lixisenatideในตอนเย็น (n=255), กลุ่มที่ได้รับยาหลอก ในตอนเช้า (n=85) และกลุ่มที่ได้รับยาหลอก ในตอนเย็น (n=85)

ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มที่ได้รับ lixisenatide มีค่า HbA1c (ค่าที่ใช้แสดงปริมาณ glycosylated hemoglobin ในกระแสเลือด ระดับ HbA1c สะท้อนถึงค่าเฉลี่ยของน้ำตาลในเลือดในช่วงประมาณ 4 - 12 สัปดาห์ที่ผ่านมา ในคนไข้เบาหวานควรมีค่า HbA1c ต่ำกว่าร้อยละ 7) ลดลงมากกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกล่าวได้ว่าอาสาสมัครในกลุ่มที่ได้รับ lixisenatide ทั้งสองกลุ่ม มีจำนวนคนที่สุดท้ายแล้วมีค่า HbA1c ต่ำกว่าร้อยละ 7 มากกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) (ได้รับ lixisenatideตอนเช้าร้อยละ 43, ได้รับ lixisenatideตอนเย็นร้อยละ 40.6 และ ได้รับยาหลอกร้อยละ 22) อีกทั้งกลุ่มที่ได้รับ lixisenatideมีระดับน้ำตาลในเลือดหลังมื้ออาหารต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอกเช่นกัน (5.9 vs 1.4 mmol/L; p<0.0001) นอกจากนั้น lixisenatide ยังช่วยเพิ่มการทำงานของเบต้าเซลล์และช่วยลดน้ำหนักตัวอีกด้วย

จากผลการศึกษา ยา lixisenatideจึงเหมาะกับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถคุมระดับน้ำตาลได้ด้วยการรับประทาน metformin เดี่ยวๆ และช่วยเสริมการลดระดับ HbA1c ในผู้ป่วยที่ใช้อินซูลิน
 
ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้