หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ยา esomeprazole บรรเทาอาการแน่นหน้าอกที่หาสาเหตุไม่ได้ (unexplained chest pain)

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 4 เดือน พฤศจิกายน ปี 2555 -- อ่านแล้ว 23,674 ครั้ง
 
เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 หนังสือในประเทศสหหรัฐอเมริกา(New York, Reuters Health) รายงาน พบผู้ป่วยที่ไม่มีอาการแสบร้อนยอดอกหรืออาการขย้อนจากโรคกรดไหลย้อน ตอบสนองต่อการรักษาอาการเจ็บแน่นหน้าอกที่หาสาเหตุไม่ได้ (unexplained chest pain) ด้วยยาในกลุ่ม proton pump inhibitors (PPIs)

ผุ้ป่วยที่มีอาการเจ็บแน่นหน้าอกที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากโรคหัวใจ (cardiac) หรือโรคกรดไหลย้อน (GERD) แพทย์จะทำการวินิจฉัยว่าเป็นภาวะ Undiagnosed Chest Pain (UCP) ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาในกลุ่ม PPIs

Dr. Flook และคณะ รายงานผลของงานวิจัยชนิดสุ่ม ระยะดำเนินงานวิจัย 4 สัปดาห์ โดยมีผู้เข้าร่วมการทดลองจำนวน 599 คน โดยแบ่งเป็น 314 คนที่มีอาการแสบร้อนยอดอกหรืออาการขย้อน อย่างน้อยหนึ่งสัปดาห์ และอีก 285 คน มีอาการดังกล่าวอย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ได้รับยา esomeprazole ขนาด 40 มิลลิกรัมว วันละ 2 ครั้ง หรือยาหลอก

ผลการทดลองแสดงว่า ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการแสบร้อนยอดอกหรืออาการขย้อนไม่บ่อย (no frequent heartburn/regurgitation) ยา esomeprazole บรรเทาอาการเจ็บแน่นหน้าอกได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบกับยาหลอก (38.7% vs 25.5% p=0.018) ในทางตรงกันข้าม กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการแสบร้อนยอดอกหรือ อาการขย้อนบ่อย (more frequent heartburn/regurgitation) ยา esomeprazole ไม่สามารถบรรเทาอาการเจ็บแน่นหน้าอกได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบกับยาหลอก (27.2% vs 24.2% p=0.54)

เช่นเดียวกันในแง่ของระดับคุณภาพชีวิตพบว่า ยา esomeprazole สามารถเพิ่มระดับคุณภาพชีวิตในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการแสบร้อนยอดอกหรืออาการขย้อนไม่บ่อย (no frequent heartburn/regurgitation) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับยาหลอก ในขณะที่ยา esomeprazole ไม่สามารถเพิ่มระดับคุณภาพชีวิตในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการแสบร้อนยอดอกหรืออาการขย้อนไม่บ่อย (more frequent heartburn/regurgitation)

จากงานวิจัยพบว่า อัตราการเกิดอาการข้างเคียงในกลุ่มที่ได้รับยา esomeprazole และกลุ่มที่ได้รับยาหลอกมีค่าใกล้เคียงกัน (37% vs 30%) และมีผู้ป่วยจำนวน 3 คนจากแต่ละกลุ่มที่เกิดอาการข้างเคียงที่รุนแรง แต่ไม่มีผู้ป่วยคนใดที่ถอนตัวหรือเสียชีวิตจากการทดลองนี้ สำหรับอาการข้างเคียงที่พบได้บ่อย ได้แก่ ท้องเสีย (diarrhea), คลื่นไส้ (nausea), ท้องผูก (constipation) และอาการปวดเกร็งช่องท้อง (abdominal pain)

 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.4 ยาอันตรายควบคุม (Controlled dangerous drugs)

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้