หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

น้ำมันปลาอาจไม่ช่วยป้องกันภูมิแพ้ในเด็กทารก

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 1 เดือน กันยายน ปี 2555 -- อ่านแล้ว 3,168 ครั้ง
 
N. D’Vaz จากมหาวิทยาลัย Western Australia และคณะ ได้ทำการศึกษาแบบrandomized controlled เพื่อดูผลของการบริโภคน้ำมันปลา ซึ่งมี omega 3 polyunsaturated fatty acids (n-3 PUFAs)ในปริมาณมากกับการเกิดโรคภูมิแพ้ในเด็กแรกเกิดจนถึง 6 เดือน จำนวน 420 ราย โดยจะถูกสุ่มให้เด็กได้รับการเสริมน้ำมันปลา 650 mgต่อวัน (จำนวน 218 ราย)หรือ น้ำมันมะกอกเป็นกลุ่มควบคุม(จำนวน 202 ราย) เด็กจะถูกประเมินเมื่ออายุครบ 6 และ 12 เดือน ผลการศึกษาพบว่า ระดับของ docosahexaenoic acid (DHA) หรือ eicosapentaenoic acid (EPA) ในเม็ดเลือดแดงและในพลาสมาในกลุ่มที่ได้รับน้ำมันปลามีค่าสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ แต่เมื่อติดตามดูการเกิดภูมิแพ้เมื่อเด็กอายุ 12 เดือนกลับพบว่า อุบัติการณ์การเกิดภูมิแพ้ ผื่นผิวหนังอักเสบ(eczema) และการแพ้อาหารของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน ผู้ทำการศึกษาชี้ให้เห็นว่า การเสริมน้ำมันปลาในเด็กแรกเกิดสามารถเพิ่มระดับ PUFA ได้จนถึง 6 เดือน แต่ก็อาจไม่มีผลลดการเกิดโรคภูมิแพ้ในช่วง 1 ขวบ อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้มีข้อจำกัดหลายประการ เช่น มีผู้ขอออกจากการศึกษาจำนวน 62 รายก่อนการศึกษาครบกำหนด ผลของระดับ n-3 PUFAที่วัดได้ในเด็กแรกเกิดไม่สูงขึ้นเท่าที่ควร ทั้งที่ขนาดของน้ำมันปลาที่ให้จะมีปริมาณ n-3 PUFAค่อนข้างสูง ซึ่งอาจจะเป็นผลจากการดูดซึมและ bioavailability ของน้ำมันปลา จึงทำให้ไม่เห็นความแตกต่างระหว่างกลุ่ม และ การใช้น้ำมันมะกอกเป็นกลุ่มควบคุมนั้น อาจไม่เหมาะสม เพราะน้ำมันมะกอกก็มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันได้เช่นกัน
 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.4 ยาอันตรายควบคุม (Controlled dangerous drugs)

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้