ศิษย์เก่ารำลึก

บอกเล่าประสบการณ์ผ่านประสบการณ์ตรงของศิษย์เก่าเภสัชมหิดล
   

โดย ศิษย์เก่า - ศิษย์เก่าเภสัชมหิดลรุ่นที่ 3

957  Views  

คนละประโยคจากรุ่น 3 “ภาพจำ...อาจารย์ประดิษฐ์”

 

  1. อาจารย์ยิ้มง่ายใจดี
  2. อาจารย์เป็นนักสู้นักพัฒนาไม่ย่อท้อ
  3. อาจารย์มีคำกล่าว from here we can go everywhere นั้น เพราะอาจารย์มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล
  4. อาจารย์สอนวิชา Pharmacy Orientation
  5. อาจารย์สนับสนุนกิจกรรมและกีฬาทุกประเภท ที่อาจารย์หรือนักศึกษาเห็นว่ามีประโยขน์ต่อส่วนรวมต่อสังคม เป็นการพัฒนาขีดความสามารถเสริมสร้างทัศนคติที่ดีให้กับนักศึกษา
  6. มีกิจกรรมหลากหลายอย่างที่ตัดสินใจขออนุญาตจากอาจารย์ทั้งๆที่ไม่คิดว่า อาจารย์จะอนุญาต แต่ก็ได้รับอนุญาต แถมท่านยังให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่
  7. อาจารย์ผลักดันให้โรงเรียนแพทย์ ใช้บัญชียาหลัก อาจารย์ประดิษฐ์ จริงจังกับเรื่องนี้มากและเครียดว่าเรื่องไม่ไปถึงไหน ถึงขั้นหัวใจวายเสียชีวิตในที่ประชุมนั้นเอง
  8. อาจารย์เป็นครูที่มีเมตตา ให้อภัยและให้โอกาสลูกศิษย์ เสมอ อยากให้ลูกศิษย์เข้าใจในวิชาที่ครูสอนแม้ว่าเราบางคนจะงีบหลับไปบ้างจึงโดนชอล์คปาให้ตื่น 555 คิดถึงค่ะ หนูขอโทษนะคะ
  9. หนูเคยโดนชอล์คปา เพราะคุยในห้อง lecture อาจารย์กำลังสอน หนูขอโทษนะคะ
  10. หนูเคยโดนอาจารย์ชี้หน้า เพราะเปิดบังตาห้องออกมาเจอเรากำลังถอยรถออก มีเพื่อนนั่งเต็มรถ โดดเรียนในวิชาที่อาจารย์สอน ตอนหลังรู้สึกผิดมาก กลับมาเมืองไทย ไปไหว้รูปปั้นอาจารย์ กราบขอโทษ ตอนนั้นอาจารย์จากไปแล้ว

 

 

บทความอื่นๆ จากศิษย์เก่า

เมื่อมาเรียนเภสัช อ.ประดิษฐ์ พร่ำสอนเกี่ยวกับวิชาชีพเภสัชกรรม และใฝ่ฝันให้ลูกศิษย์จบไปเป็นเภสัชกรร้านยา เพื่อช่วยประชาชนได้ใช้ยาอย่างปลอดภัย ทำให้ผมตั้งใจไปเป็นเภสัชกรประจำร้านยาของที่บ้าน ซึ่งเป็นร้า...

ภก.สมเฮง นรเศรษฐีกุล รุ่นที่ 2

เมื่อครั้งที่รุ่น 12 ไป trip bot ในขณะนั่งรถกลับเข้ากรุงเทพ เพื่อนๆ กลุ่มหนึ่งเห็นว่ารถจะวิ่งผ่านบ้าน จึงขอลงระหว่างทาง ปรากฎว่า เมื่อถึงคณะ อาจารย์ประดิษฐ์ เรียกทุกคนเข้าห้องประชุม ทุกคนต่า...

ศาสตราจารย์วราภรณ์ จรรยาประเสิรฐ รุ่นที่ 12

ในปี 2525 ดิฉันเป็นนักศึกษาเภสัชศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ได้มีโอกาสพบท่านอาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร อาจารย์ได้เล่าถึงเรื่องราวการทำงานโรงพยาบาลอำเภอของรุ่นพี่มหิดลรุ่น 6-7 และอาจารย์ได้ให้คำแนะ...

รศ.ดร.จุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์ รุ่นที่ 11

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา