Knowledge Article


วิถีชีวิตในวิกฤติโควิด-19


ศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ลีณา สุนทรสุข
ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาพประกอบจาก : https://cdn.i-scmp.com/sites/default/files/styles/768x768/public/d8/images/methode/2020/03/02/c55b08c6-5c68-11ea-be3e-43af5536d789_image_hires_173924.jpg?itok=_1DuRHoF&v=1583141969
7,188 View,
Since 2020-04-11
Last active: 1 days ago
https://tinyurl.com/yxlkcdrj
Scan to read on mobile device
 
A - | A +


วันนี้เราล้างมือไปแล้วกี่ครั้ง หลายคนอาจตอบว่า 10-20 ครั้ง หลายคนอาจตอบว่าล้างบ่อยมากเกือบทุก 5 นาที แต่ที่แน่ ๆ เราล้างมือกันบ่อยขึ้นมากกว่าเมื่อ 3 เดือนที่แล้ว หากจำเป็นต้องออกจากบ้านในช่วงนี้ หลาย ๆ คนอาจจะต้องเผื่อเวลาเพิ่มขึ้นเพื่อสำรวจตัวเองว่ามีของใช้จำเป็นที่ต้องพกติดตัวไปครบหรือยัง เช่น หน้ากากอนามัย เจลล้างมือ แผ่นเช็ดทำความสะอาด หรือแม้กระทั่งหน้ากากป้องกันใบหน้า (face shield) เป็นต้น เวลาต้องไปพบปะผู้คนเราก็จะนั่งหรือยืนห่าง ๆ กันประมาณ 2 เมตรขึ้นไป ตามมาตรการการเว้นระยะห่างทางกายภาพ (physical distancing) เหล่านี้เป็นตัวอย่างพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้คนในสังคมในช่วงการระบาดของโควิด-19 เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมในการป้องกันการระบาดของโรคนี้ พฤติกรรมเหล่านี้หากปฎิบัติซ้ำ ๆ ก็จะกลายเป็นความปกติและเป็นวิถีชีวิตของผู้คนในสังคมอนาคตไปในที่สุด บทความนี้รวบรวมวิถีชีวิตที่กำลังจะเปลี่ยนไปภายหลังผลกระทบจากโควิด-19 เพื่อให้ทุกคนเตรียมความพร้อมและปรับตัวให้เข้ากับความปกติใหม่ (new normal) ที่กำลังจะเกิดขึ้นในประเทศและบนโลกของเรา



ภาพจาก : https://e3.365dm.com/20/03/768x432/2372003150011722007_4948126.jpg?20200315165608

1. การใช้ชีวิตประจำวัน ผู้คนจะคำนึงถึงความปลอดภัยด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น ได้แก่
  • ดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล เช่น การล้างมือ ทำความสะอาดร่างกาย เสื้อผ้าและของใช้ส่วนตัว
  • ดูแลความสะอาดของสถานที่พักอาศัย
  • รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ อาหารที่ปลอดภัย สะอาด ปรุงสุกใหม่ ๆ
  • งดใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
  • หลีกเลี่ยงการไปในสถานที่แออัดหรือที่ชุมชน
  • สวมใส่หน้ากากอนามัยเวลาอยู่นอกบ้าน
  • หลีกเลี่ยงการทักทายแบบตะวันตก เช่น จับมือ กอด จูบ
  • หลีกเลี่ยงการใช้ของสาธารณะ เช่น ปุ่มกดลิฟท์ ลูกบิดประตู ราวบันได
2. การทำงาน จะมีรูปแบบใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ได้แก่
  • ทำงานจากบ้าน (work from home)
  • ติดต่อสื่อสารและประชุมผ่านระบบออนไลน์
  • จัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ บนระบบ cloud หรือคอมพิวเตอร์
  • ใช้หุ่นยนต์หรือเครื่องจักรแทนพนักงาน
  • สวมหน้ากากอนามัยในที่ทำงาน
  • จัดโต๊ะทำงานโดยมีการเว้นระยะห่าง
  • จัดรถรับ-ส่งพนักงานเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้รถสาธารณะ
  • ทำความสะอาดและพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคในสถานที่ทำงาน
  • จำหน่ายสินค้าหรือบริการผ่านระบบออนไลน์
  • พัฒนาระบบขนส่งสิ่งค้า (logistic)
3. การบริโภค พฤติกรรมใหม่ของผู้บริโภค ได้แก่
  • ซื้อสินค้าและบริการผ่านระบบออนไลน์
  • เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมสุขภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ร้านแต่ใช้การสั่งออนไลน์แทน
  • สนใจการออกกำลังกาย
  • ชำระค่าสินค้าและบริการผ่านธุรกรรมออนไลน์ (สังคมไร้เงินสด)
  • ใช้แอพพลิเคชัน (application) เพื่อการทำธุรกรรมต่าง ๆ
4. การศึกษา
  • เรียนและประเมินความรู้ผ่านระบบออนไลน์ (learn from home)
  • ค้นคว้าข้อมูลจากห้องสมุดออนไลน์ (online library)
  • ใช้ทรัพยากรอินเทอร์เน็ตอย่างกว้างขวาง
  • ลดเวลาเรียนในชั้นเรียน
  • สวมหน้ากากอนามัยเวลาอยู่ในชั้นเรียน
  • เหลื่อมเวลาพักของผู้เรียนในสถานศึกษา
  • ส่งเสริมสุขอนามัยของผู้เรียน เช่น จัดให้มีห้องสุขา ก๊อกน้ำล้างมือ โรงอาหาร ที่เหมาะสมและเพียงพอ เป็นต้น
วิถีชีวิตข้างต้นเป็นสิ่งใหม่ที่หลายท่านอาจจะยังไม่คุ้นชิน การรับมือกับสิ่งเหล่านี้สามารถทำได้โดย 1) ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เช่น ความรู้ด้านเทคโนโลยี การสื่อสารโดยระบบออนไลน์ ความรู้ด้านการแพทย์และสาธารณสุขเบื้องต้น เป็นต้น และ 2) ปรับตัวโดยยึดแนวปฏิบัติตามหลัก 3 สร้างของกรมสุขภาพจิต ได้แก่ สร้างความปลอดภัย ความสงบและความหวัง เพื่อสร้างความคิดเชิงบวกและไม่เกิดความวิตกกังวลเกินควรต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

เอกสารอ้างอิง
  1. https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/1810991?cx_testId=2&cx_testVariant=cx_1&cx_artPos=1#cxre;cs_s
  2. https://mgronline.com/onlinesection/detail/9630000035211
  3. https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_30Mar2020.aspx
  4. https://www.thaipost.net/main/detail/62404
Others articles

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้

Public Knowledge Articles



View all articles
-->

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

Faculty of Pharmacy, Mahidol University.

447 Sri-Ayuthaya Road, Rajathevi, Bangkok 10400, THAILAND
Designed & Developed by Department of Information Technology, Faculty of Pharmacy, Mahidol University.
Copyright © 2013-2020
 

We use Cookies

This site uses cookies to personalise your experience and analyse site traffic. By Clicking ACCEPT or continuing to browse the site you are agreeing to our use of cookies.