Knowledge Article


ฝุ่น PM 2.5 จิ๋ว แต่ไม่จบ


ศาสตราจารย์ ดร. ภญ. ลีณา สุนทรสุข
ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาพประกอบจาก : https://www.salika.co/wp-content/uploads/2019/01/dust-1.jpg
15,831 View,
Since 2019-03-13
Last active: 2h ago
https://tinyurl.com/y7wzuk63
Scan to read on mobile device
 
A - | A +


แม้ข่าวคราวเกี่ยวกับฝุ่นจิ๋วหรือ พี เอ็ม 2.5 (particulate matter, PM 2.5) จะค่อยๆ เลือนหายไปจากสื่อต่างๆ ตามสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวและอุณหภูมิที่สูงขึ้น แต่ปัญหาฝุ่นยังไม่หมดไปจากประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ยังคงจะต้องเผชิญกับปัญหานี้อยู่และอาจจะเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต หากยังไม่มีการแก้ไขที่ต้นเหตุ ประการสำคัญมลพิษทางอากาศไม่ได้มีเพียง พี เอ็ม 2.5 เท่านั้น แต่ยังประกอบด้วยสารพิษอื่นอีกหลายชนิดซึ่งเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังแสดงในตารางที่ 1



ภาพจาก : http://www.nationmultimedia.com/img/photos/2018/February/8/928b177b227f945f5da960e5fab07009.jpeg



สารพิษทางอากาศเป็นภัยใกล้ตัวที่มองไม่เห็นและปนเปื้อนอยู่ในอากาศที่เราหายใจตลอดเวลา ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะ พี เอ็ม 2.5 ซึ่งทางองค์การอนามัยโลกจัดให้อยู่ในกลุ่มที่ 1 ของสารก่อมะเร็ง (หมายถึงมีข้อมูลยืนยันว่าเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ ตามการแบ่งประเภทกลุ่มสารก่อมะเร็งของ International Agency for Research on Cancer)3

เนื่องจาก พี เอ็ม 2.5 เป็นฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ขนจมูกไม่สามารถกรองได้ และสามารถแพร่เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ระบบหมุนเวียนโลหิต และอวัยวะอื่นของร่างกาย รวมทั้งฝุ่นเหล่านี้ยังเป็นตัวกลางในการนำสารอันตรายอื่นเข้าสู่ร่างกาย เช่น โลหะหนัก แคดเมียน ปรอท เป็นต้น ซึ่งก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ อาทิ โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ โรคถุงลมโป่งพอง และโรคมะเร็งปอด เป็นต้น องค์การอนามัยโลกได้กำหนดค่าเป้าหมายของมาตรฐานฝุ่นละอองโดยกำหนดค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง และค่าเฉลี่ยทั้งปี ดังแสดงในตารางที่ 2 แม้ว่ามาตรฐานฝุ่นละอองของไทยในปัจจุบันจะมีสูงกว่าค่าเป้าหมายขององค์การอนามัยโลก ขณะนี้ได้มีข้อเสนอที่จะปรับลดค่าดังกล่าวให้มีค่าใกล้เคียงกับสากลยิ่งขึ้น (ตารางที่ 2)



สถานการณ์มลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นในประเทศไทยทำให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหา ออกมาตรการต่าง ๆ รวมทั้งรณรงค์ในส่วนของภาครัฐและภาคประชาชน (ตารางที่ 3) เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและรับมือกับปัญหาใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องร่วมมือกันในการปรับปรุงคุณภาพอากาศ เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชน



เอกสารอ้างอิง
  1. https://thestandard.co/pm-2-5-environmental-nano-pollutants/ สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2562
  2. โครงการศึกษาแหล่งกำเนิดและแนวทางการจัดการฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สิงหาคม 2561
  3. https://www.iarc.fr/ สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2562
  4. วงศ์พันธ์ ลิมปเสนีย์ และคณะ (2560), รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การประเมินทางสถิติความเข้มข้นมลพิษอากาศในกรุงเทพมหานคร, วิทยาลัยพัฒนามหานคร

Public Knowledge Articles



View all articles
-->

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

Faculty of Pharmacy, Mahidol University.

447 Sri-Ayuthaya Road, Rajathevi, Bangkok 10400, THAILAND
Designed & Developed by Department of Information Technology, Faculty of Pharmacy, Mahidol University.
Copyright © 2013-2020
 

We use Cookies

This site uses cookies to personalise your experience and analyse site traffic. By Clicking ACCEPT or continuing to browse the site you are agreeing to our use of cookies.