Knowledge Article


จัดร้านยาเพื่อผู้สูงวัย


อาจารย์ ดร.ภก.ลือรัตน์ อนุรัตน์พานิช
ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาพประกอบจาก : https://www.thedrugstoremuellerdrugs.com/images/front.jpg
10,797 View,
Since 2017-09-27
Last active: 1h ago
https://tinyurl.com/ycpepbds
Scan to read on mobile device
 
A - | A +


ปัจจุบันประเทศไทยเป็นสังคมสูงวัยมาหลายปี และกำลังจะมีจำนวนผู้สูงวัยเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆเนื่องจากความสำเร็จทางด้านการแพทย์และการสาธารณสุข [1] นับเป็นโอกาสให้กับเภสัชกรชุมชนในการสร้างบริการเพื่อให้ผู้สูงวัยได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งยังเป็นการสร้างบทบาทของเภสัชกรให้เป็นที่ยอมรับแก่สังคมอีกทางหนึ่ง



ภาพจาก : http://www.lifezen.in/blog/wp-content/uploads/2016/01/

1463645-old-man-picking-a-medicine-bottle-from-a-shelf.jpg


เมื่อผู้สูงวัยมีมากขึ้น ร้านยาควรที่จะมีบริการที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าสูงวัย ที่มีลักษณะทางกายภาพที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การเคลื่อนไหวที่ไม่คล่องแคล่ว การมองเห็นและการได้ยินที่ลดลง ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคในการมารับบริการ รวมถึงอาจมีผลกระทบต่อความร่วมมือในการใช้ยาได้ เมื่อไม่นานนี้มีบทความของสมาคมเภสัชกรชุมชนแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (NCPA) ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดร้านยาให้เอื้อต่อลูกค้าสูงวัยทางด้านการจัดการทางกายภาพ ของร้านดังนี้ [2]
  • ควรมีความกว้างของทางเดินไม่น้อยกว่า 5 ฟุต เพื่อความสะดวกสบาย และอำนวยความสะดวกกับผู้สูงวัยที่ใช้รถล้อเลื่อน หรือ ไม้เท้าช่วยพยุง
  • ไม่ควรวางสินค้าริมทางเดินที่สร้างความเกะกะและไม่สะดวก
  • ประตูที่เปิดปิดง่าย และกว้างพอให้รถเข็นผู้สูงวัยเข้าได้ และจะดียิ่งถ้าเป็นประตูเปิดปิดอัตโนมัติ
  • มีไฟส่องสว่างที่ช่วงให้การมองเห็นชัดเจนขึ้น
  • ควรจัดให้มีแว่นขยายทุกๆ 8-12 ฟุตอยู่ที่บริเวณชั้นสินค้าที่ไม่ใช่ยาอันตราย เพื่อช่วยเรื่องการอ่านฉลากและรายละเอียดของสินค้าด้วยตนเอง
  • ทางเดินควรเรียบแต่ไม่ลื่น และไม่มีส่วนที่นูนออกมา หรือ ไม่ควรมีสายไฟวางพาดบนทางเดิน เพื่อป้องกันการหกล้ม
  • บริเวณซักอาการ และจ่ายยาโดยเภสัชกร ไม่ควรไกลจากประตูเกินกว่า 25 ก้าว
  • ควรมีเก้าอี้เพื่อให้ผู้สูงวัยนั่งรอ และต้องเป็นเก้าอี้มีที่เท้าแขน และติดแน่นกับพื้นเพื่อป้องกันการลื่นไถล
  • ไม่ควรมีเสียงดังรบกวนการได้ยิน ทั้งเกิดจากการเปิดเพลง หรือ เกิดจากเสียงดังจากการทำงานของทางร้าน
ในส่วนของการบริการและการสื่อสาร
  • ควรใช้เสียงที่ดังขึ้น และพูดด้วยความชัดเจน เพื่อให้ผู้สูงวัยเข้าใจ และจะได้ใช้ยาได้อย่างเหมาะสม
  • แสดงความให้เกียรติและให้ความห่วงใยแก่ผู้สูงวัยเป็นพิเศษเพื่อสร้างความรู้สึกและสัมพันธภาพที่ดี
  • ใช้คำพูดที่เข้าใจง่าย พูดด้วยน้ำเสียงที่อ่อนโยน เป็นมิตร แต่ต้องมีเสียงดังฟังชัด และ ไม่เร็วจนผู้สูงอายุฟังไม่ทัน
  • ควรมีการสอบถามเพื่อทวนความเข้าใจ และสังเกตอวันภาษาของผู้สูงอายุเพื่อสร้างบรรยากาศการสื่อสารที่สร้างสรรค์
  • ควรมีบริการทางเภสัชกรรมที่สร้างขึ้นเฉพาะแก่ผู้สูงวัย เช่น การทำฉลากยาที่มีขนาดใหญ่ขึ้น และ ทำให้อ่านง่าย รวมถึงการสร้างความจดจำในการใช้ยาที่ง่ายต่อความเข้าใจ และจดจำ
  • อาจจะต้องติดตามการใช้ยาหลังจากลูกค้าสูงวัยกลับบ้านไปแล้ว เพื่อประกันการใช้ยาที่เหมาะสม และป้องกันการปัญหาจากการใช้ยา
  • ควรจัดให้มีอุปกรณ์ที่ช่วยผู้สูงวัยในการจัดเตรียมยาในการใช้ เช่น ที่ตัดแบ่งเม็ดยา กล่องใส่ยาตามมื้อยา หรือ ฉลากช่วยเพื่อความเข้าใจในการใช้ยาได้อย่างถูกต้อง
นอกจากนี้เภสัชกรควรให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้สูงอายุอยู่เสมอ และ เป็นที่ปรึกษาในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ หรือ สมุนไพรแก่ผู้สูงวัยเพื่อป้องกันการถูกชักชวนให้ใช้ยา หรือ ผลิตภัณฑ์ต่างๆเกินความจำเป็น

หวังว่าข้อเสนอแนะเหล่านี้อาจเป็นประโยชน์ในการสร้างร้านยาที่เป็นมิตรต่อผู้สูงวัย เพื่อให้เภสัชกรชุมชนเป็นทางเลือกในการใช้บริการ และสร้างความภาคภูมิใจแก่วิชาชีพเภสัชกรรมของพวกเรา

เอกสารอ้างอิง
  1. Ulrich Zachau. สังคมสูงวัยในประเทศไทย – ใช้ชีวิตอย่างไรให้มั่งคั่งและยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2560. จาก http://blogs.worldbank.org/eastasiapacific/th/aging-in-thailand-how-to-live-long-and-prosper
  2. LTC Senior-Friendly Pharmacy Services. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2560. จาก http://www.ncpanet.org/innovation-center/diversified-revenue-opportunities/senior-friendly-pharmacy---design-caregiver-support-adl-supplies
Others articles

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้

Public Knowledge Articles



View all articles
-->

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

Faculty of Pharmacy, Mahidol University.

447 Sri-Ayuthaya Road, Rajathevi, Bangkok 10400, THAILAND
Designed & Developed by Department of Information Technology, Faculty of Pharmacy, Mahidol University.
Copyright © 2013-2020
 

We use Cookies

This site uses cookies to personalise your experience and analyse site traffic. By Clicking ACCEPT or continuing to browse the site you are agreeing to our use of cookies.