Knowledge Article


ยาปฏิชีวนะ..ระวัง..อย่าใช้พร่ำเพรื่อ


รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ. ชะอรสิน สุขศรีวงศ์
ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาพประกอบจาก : https://www.stjhs.org/images/ts_RedAndWhiteCapsules464704905[1].jpg
109,956 View,
Since 2017-09-08
Last active: 1h ago

Scan to read on mobile device
 
A - | A +


ประชาชนทั่วไปมักเรียก “ยาปฏิชีวนะ” ว่าเป็น “ยาแก้อักเสบ” และยังมีความเข้าใจผิดว่าการใช้ยานี้จะทำให้โรคที่เป็นอยู่หายเร็วขึ้น(1) จึงมักจะไปหาซื้อยากลุ่มนี้มาใช้เองโดยไม่มีข้อบ่งใช้หรือไม่สมเหตุสมผล ในการใช้ยาปฏิชีวนะนั้นจำเป็นต้องใช้ให้เหมาะสมและตรงกับชนิดของโรคที่จะรักษา รวมถึงการได้รับยาครบตามปริมาณและในขนาดที่เหมาะสม ดังนั้นการตัดสินใจเลือกใช้ยาปฏิชีวนะควรต้องอยู่ในการควบคุมดูแลของแพทย์หรือขอคำแนะนำจากเภสัชกรก่อนใช้เสมอ(2) นอกจากนี้การใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่เหมาะสมหรือใช้ยาปฏิชีวนะนานๆหรือพร่ำเพรื่อ ยังก่อให้เกิดผลเสียอื่นๆตามมา ไม่ว่าจะเป็น



ภาพจาก : http://www.herbsociety.org.uk/files/5614/5951/8716/herb-society-logo.png
  • เชื้อโรคมีการปรับตัวและพัฒนาตัวเองให้มีชีวิตรอดได้สูง พัฒนาการต่อต้านยาปฏิชีวนะ ส่งผลให้เกิดภาวะดื้อยา (เชื้อดื้อยา) ดังนั้นโรคจึงอาจไม่หาย หรือถึงแม้ดูว่าอาการดีขึ้น แต่อาจกลายเป็นโรคเรื้อรังและยังคงสามารถแพร่กระจายสู่ผู้อื่นได้
  • ยาจะไปฆ่าแบคทีเรียเหล่านี้ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกายเสียไป และแบคทีเรียไม่ดีที่เคยถูกควบคุมสมดุลด้วยแบคทีเรียประจำถิ่นอาจรุนแรงขึ้น และโดยเฉพาะเชื้อราที่มีเป็นปกติในเยื่อเมือกและที่ผิวหนังจะแข็งแรงขึ้นจนก่อการติดเชื้อกับเราได้ เช่น เกิดภาวะช่องคลอดอักเสบ (ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย) หรือท้องเสีย เป็นต้น
  • ยาปฏิชีวนะทุกชนิดมีผลข้างเคียงเสมอ มากหรือน้อยขึ้นกับชนิด ขนาด และวิธีกินยา และยังขึ้นกับความไวของแต่ละคนต่อยาด้วย ผลข้างเคียงจากยาปฏิชีวนะที่พบบ่อย เช่น ท้องเสีย ผื่นคัน ลมพิษ และ โรคหืด
  • รบกวนการทำงานของยากลุ่มอื่น (ปฏิกิริยาระหว่างยา) เช่น การใช้ยาปฏิชีวนะบางกลุ่มพร้อมกับยาเม็ดคุมกำเนิด จะทำให้ฤทธิ์ในการคุมกำเนิดลดลง จนอาจเกิดการตั้งครรภ์ตามมาได้
ซึ่งในแต่ละปีคนไทยติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาประมาณ 88,000 คน เสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาอย่างน้อยปีละ 20,000-38,000 คน ซึ่งมากกว่าผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจขาดเลือดและผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุการขนส่ง และยังส่งผลให้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อดื้อยาต้องอยู่ในโรงพยาบาลโดยรวมนานขึ้น 3.24 ล้านวัน หรือเฉลี่ยคนละ 24-46 วัน สาเหตุมาจากพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่สมเหตุสมผล(4)

ปัจจุบันกลุ่มโรค 3 กลุ่มที่ไม่จำเป็นและไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะ แต่มีอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะสูงมากได้แก่ 1. ไข้หวัด เจ็บคอ 2.ท้องเสีย 3. แผลเลือดออก ทั้งนี้เพราะมากกว่าร้อยละ 80 ของกลุ่มโรคเหล่านี้ไม่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย(4) เพื่อลดอุบัติการณ์เชื้อดื้อยาและการเสียเงินโดยไม่จำเป็น ผู้ป่วยอาจใช้แนวทางพิจารณาความรุนแรงของโรคเพื่อดูแลรักษาตนเองได้(5,6) ดังนี้



เอกสารอ้างอิง
  1. gidanan ganghair. 2557. การใช้ยาปฏิชีวนะในประจำวัน. 2557. From: http://www.thaihealth.or.th/Content/25999-การใช้ยาปฏิชีวนะในชีวิตประจำวัน.html, , Accessed July 17, 2017.
  2. อภัย ราษฎรวิจิตร. 2014. ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics). From: http://haamor.com/th/ /th/ยาปฏิชีวนะ/, Accessed July 17, 2017.
  3. พวงทอง ไกรพิบูลย์. 2015. หลักการใช้ยาปฏิชีวนะ (Effective use of antibiotics) from: http://haamor.com/ th/หลักการใช้ยาปฏิชีวนะ, Accessed July 17, 2017.
  4. เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย). 2559. เปิด 3 โรค ยอดฮิตความเชื่อที่ผิดใช้ยาปฏิชีวนะ"หวัด-ท้องเสีย-บาดแผล" หมอเตือนเสี่ยงเป็น “เชื้อดื้อยา”. From: http://health.sanook.com/5605/, Accessed July 17, 2017.
  5. คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. 2556. การส่งเสริมการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุสมผลที่โรงพยาบาลศิริราช ตามแนวคิด Antibiotic Smart Use (ASU). From: www1.si.mahidol.ac.th/km/sites/default/files/u5680/star2555-092.pdf, Accessed July 17, 2060.
  6. ASU Project. สื่อสำหรับประชาชน. From: http://newsser.fda.moph.go.th/rumthai/asu/download.php, Accessed July 17, 2017.
Others articles

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้

Public Knowledge Articles



View all articles
-->

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

Faculty of Pharmacy, Mahidol University.

447 Sri-Ayuthaya Road, Rajathevi, Bangkok 10400, THAILAND
Designed & Developed by Department of Information Technology, Faculty of Pharmacy, Mahidol University.
Copyright © 2013-2020
 

We use Cookies

This site uses cookies to personalise your experience and analyse site traffic. By Clicking ACCEPT or continuing to browse the site you are agreeing to our use of cookies.