Knowledge Article


บัวหลวง...สัญลักษณ์แห่งพระพุทธศาสนา


ธิดารัตน์ จันทร์ดอน
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาพประกอบจาก : http://www.naturalether.com/wp-content/uploads/2015/06/pink-lotus-nelumbo-250x250.jpg
36,239 View,
Since 2015-10-07
Last active: 1 days ago
https://tinyurl.com/2xngz99p
Scan to read on mobile device
 
A - | A +


คำนำ

บัวหลวง (Sacred lotus) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nelumbo nucifera Gaertn. เป็นพืชน้ำมีเหง้าอยู่ใต้ดิน ใบเดี่ยวค่อนข้างกลม แผ่นใบชูเหนือน้ำ ก้านใบแข็ง ออกดอกเดี่ยวชูขึ้นเหนือน้ำ ดอกสีชมพูถึงชมพูเข้มและสีขาว เกสรเพศผู้สีเหลืองจำนวนมากติดอยู่รอบฝักบัวรูปกรวย ผลรูปกลมรีจำนวนมากอยู่ในฝัก (1) มีชื่อเรียกแตกต่างกันตามลักษณะของดอก ดังนี้



รูป 1 ที่มา: http://www.bantamboon.com/wp-content/uploads/2014/03/บัวหลวงขาว-บุณฑริก.jpg

รูป 2 ที่มา: http://www.nanagarden.com/shop/1368/tag/บัวหลวง

รูป 3 ที่มา: http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=muoodda&group=1&month=07-2012&date=29

รูป 4 ที่มา: สำนักงานข้อมูลสมุนไพร

หลายๆ ส่วนของบัวหลวงมีการนำมาบริโภค เช่น เมล็ดบัวรสชาติหวานมัน นำมากวนหรือโรยบนหน้าขนมหม้อแกง รากบัวเชื่อมหรือต้มน้ำตาล ทำน้ำรากบัวแก้ร้อนใน ยำกลีบบัวหรือยำเกสรบัวหลวง เป็นต้น นอกจากนี้บัวหลวงยังนำมาใช้เป็นสมุนไพรซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ได้เกือบทุกส่วน ทั้งเกสร กลีบดอก เมล็ด ดีบัว ใบ ราก และเหง้า คนไทยสมัยโบราณใช้เกสรบัวหลวงเข้าเครื่องยาไทยในพิกัดเกสรทั้งห้า เกสรทั้งเจ็ด และเกสรทั้งเก้า และนิยมใช้กันจนมาถึงปัจจุบัน

สรรพคุณแผนโบราณ ดอกบัวและเกสรบัวหลวงใช้บำรุงหัวใจ แก้ไข้ตัวร้อน แก้อ่อนเพลีย ขับโลหิต ขับเสมหะ แก้จุกเสียด และแก้ท้องเสีย เป็นต้น

การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา พบว่าเกสรบัวหลวงมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (3) และมีรายงานการทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์อะซิติลโคลินเอสเทอเรส (Acetylcholinesterase; AChE) ซึ่งอาจส่งผลในการป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ (4) ส่วนกลีบดอกบัวหลวงมีฤทธิ์ลดระดับไขมันและน้ำตาลในเลือดที่เปลี่ยนแปลงไปตามอายุที่มากขึ้น และสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ (5) นอกจากนี้ยังมีการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของส่วนอื่นๆ ของบัวหลวง เช่น เหง้ามีฤทธิ์ลดไข้ แก้ร้อนใน แก้อักเสบ (6) และใบมีฤทธิ์ในการลดความอ้วน (7) เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยในหลอดทดลองและสัตว์ทดลองเท่านั้น สำหรับเกสรบัวหลวงซึ่งมีการนำมาใช้ประโยชน์ในด้านเครื่องยามากที่สุด มีการทดสอบความเป็นพิษ พบว่าไม่ก่อให้เกิดความผิดปกติใดๆ (8) ซึ่งขนาดที่ใช้เข้าเครื่องยาตามตำรับยาไทยต่างๆ ไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษ แต่อย่างไรก็ตาม ควรระมัดระวังในการใช้ปริมาณในสูงหรือการใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน และหลีกเลี่ยงการใช้หากมีอาการแพ้

เอกสารอ้างอิง
  1. นันทวัน บุณยะประภัศสร. สมุนไพรไม้พื้นบ้าน(2). กรุงเทพฯ: บริษัท ประชาชน จำกัด, 2541: 640 หน้า
  2. ชยันต์ พิเชียรสุนทร. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทย เล่ม 5 คณาเภสัช. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2547: 351 หน้า.
  3. Jung H. A, Kim J. E, Chung H. Y, Choi J. S. Antioxidant Principles of Nelumbo nucifera Stamens. Pharm Res 2003;26(4):279-85.
  4. Jung HA, Jung JY, HYUN SK, MIN BS, KIM DW, Jung JH, Choi JS. Selective cholinesterase inhibitory activities of a new monoterpene diglycoside and other constituents from Nelumbo nucifera stamens. Biol Pharm Bull 2010; 33(2): 267-72.
  5. Bhuvana S, Mahesh R, Begum VH. Effect of Nelumbo nucifera flowers on plasma lipids and glucose in young, middle-aged and aged rats. Pharmacologyonline 2008; 2: 863-74.
  6. Mukherjee PK, Saha K, Das J, Pal M, Saha BP. Studies on the anti-inflammatory activity of rhizomes of Nelumbo nucifera. Planta Med 1997; 63: 367-9.
  7. Ono Y, Hattori E, Fukaya Y, Imai S, Ohizumi Y. Anti-obesity effect of Nelumbo nucifera leaves extract in mice and rats. J Ethnopharmacology 2006; 106: 238–44.
  8. Kunanusorn P, Panthong A, Pittayanurak P, Wanauppathamkul S , Nathasaend N, Reutrakul V. Acute and subchronic oral toxicity studies of Nelumbo nucifera stamens extract in rats. J Ethnopharmacology 2011;134: 789–95.

Public Knowledge Articles



View all articles
-->

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

Faculty of Pharmacy, Mahidol University.

447 Sri-Ayuthaya Road, Rajathevi, Bangkok 10400, THAILAND
Designed & Developed by Department of Information Technology, Faculty of Pharmacy, Mahidol University.
Copyright © 2013-2020
 

We use Cookies

This site uses cookies to personalise your experience and analyse site traffic. By Clicking ACCEPT or continuing to browse the site you are agreeing to our use of cookies.