Knowledge Article


คูณ อร่ามเหลืองรับสงกรานต์


ภญ. กฤติยา ไชยนอก
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
13,897 View,
Since 2015-04-21
Last active: 2h ago
https://tinyurl.com/2bc5s3gp
Scan to read on mobile device
 
A - | A +


เชื่อว่าในช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา นอกจากความงดงามของดอกชมพูพันธุ์ทิพย์หรือซากุระเมืองไทยแล้ว หลายๆ ท่านก็คงจะได้สัมผัสกับความสวยงามกับดอกไม้อีกชนิดหนึ่ง ที่มีสีเหลืองอร่ามและมีความงดงามไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ใช่แล้วค่ะ เรากำลังพูดถึงเจ้าดอกสงกรานต์ ดอกราชพฤกษ์ หรือก็คือดอกคูน ดอกไม้ประจำชาติไทยเรานี้เองค่ะ



จาก http://www.thaigoodview.com/node/101100

คูน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cassia fistula L. เป็นพืชในวงค์ LEGUMINOSAE (FABACEAE) - CAESALPINIOIDEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์คือ เป็นไม้ยืนต้น ใบเป็นช่อประกอบด้วยใบย่อย 3-8 คู่ รูปไข่แกมขอบขนาน เนื้อใบเกลี้ยงค่อนข้างบาง หูใบมีขนาดเล็กและร่วงง่าย ดอกออกเป็นช่อตามง่ามใบ 1-3 ช่อ กลีบรองกลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่แกมรูปรี ด้านนอกมีขน กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลืองรูปไข่ เกสรเพศผู้ 10 อัน อับเรณูมีขนาดเล็ก เกสรเพศเมียและท่อเกสรมีขน ผลเป็นฝักทรงกระบอก ฝักอ่อนสีเขียว ฝักแก่สีดำ มีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดรูปรีแบนสีน้ำตาล สรรพคุณพื้นบ้านระบุว่า รากและใบ ใช้เป็นยาระบาย รักษากลากเกลื้อน แก้บวม ขับพยาธิผิวหนัง เปลือกต้น แก้ท้องร่วง สมานแผล เปลือกเมล็ดและเปลือกฝัก ถอนพิษเบื่อเมา ทำให้อาเจียน ดอก แก้ไข้ เป็นยาระบาย แก้ปวดแผลเรื้องรัง พุพอง ฝัก แก้กระหายน้ำ แก้จุกเสียด แก้กำเดา แก้พรรดึก ระบายพิษไข้ เนื้อในฝัก เป็นยาระบาย ถ่ายเสมหะ แก้ร้อนในกระหายน้ำ

การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของคูนพบว่า ในฝักคูนมีสารในกลุ่ม anthraquinones หลายชนิด เช่น rhein, aloe-emodin และ sennosides ซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาระบาย สารสกัดจากส่วนฝัก ดอก และส่วนต่างๆ มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และยีสต์ สารสกัดจากส่วนใบมีฤทธิ์ฆ่าพยาธิใบไม้ ขับปัสสาวะ ลดการอักเสบ สารสกัดจากเมล็ด ลำต้นและเปลือกต้นมีฤทธิ์ลดไขมันและลดน้ำตาลในเลือด แต่ทั้งหมดยังเป็นการศึกษาในระดับสัตว์ทดลองและหลอดทดลองค่ะ

Public Knowledge Articles



View all articles
-->

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

Faculty of Pharmacy, Mahidol University.

447 Sri-Ayuthaya Road, Rajathevi, Bangkok 10400, THAILAND
Designed & Developed by Department of Information Technology, Faculty of Pharmacy, Mahidol University.
Copyright © 2013-2020
 

We use Cookies

This site uses cookies to personalise your experience and analyse site traffic. By Clicking ACCEPT or continuing to browse the site you are agreeing to our use of cookies.