Knowledge Article


เปลี่ยนยาคุมกำเนิด ... ทำอย่างไรดี


เภสัชกร สุรศักดิ์ วิชัยโย
ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
207,790 View,
Since 2015-02-15
Last active: 1h ago
https://tinyurl.com/ycmcr85a
Scan to read on mobile device
 
A - | A +


ผู้หญิงส่วนใหญ่คงทราบกันดีว่าปัจจุบันมียาคุมกำเนิดหลากหลายชนิดและรูปแบบ แต่สำหรับบางคนเมื่อตัดสินใจเลือกวิธีคุมกำเนิดแบบใดแบบหนึ่งไปแล้ว อาจรู้สึกว่าไม่สะดวกต่อการใช้หรือเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาคุมกำเนิดชนิดนั้นในภายหลัง จึงต้องการเปลี่ยนเป็นยาคุมกำเนิดชนิดใหม่ ซึ่งหลายคนตัดสินใจเปลี่ยนยาคุมกำเนิดด้วยตัวเอง โดยเฉพาะยาเม็ดคุมกำเนิดที่ไม่ต้องมีเทคนิคพิเศษในการใช้ยา เพราะเข้าใจว่าคงใช้เหมือนเดิม เช่น หยุด 7 วัน (กรณีในแผงมี 21 เม็ด) หรือ รับประทานจนหมดแผง (กรณีในแผงมี 28 เม็ด) แล้วค่อยเริ่มยาคุมกำเนิดชนิดใหม่ แต่จริงๆ แล้ว ยาเม็ดคุมกำเนิดแต่ละยี่ห้ออาจมีชนิดและปริมาณของฮอร์โมนแตกต่างกัน ซึ่งการเว้นช่วง (gap) ดังที่ยกตัวอย่างข้างต้นนั้น อาจส่งผลให้ประสิทธิภาพการคุมกำเนิดลดลงระหว่างการเปลี่ยนยาคุมกำเนิดได้ นอกจากนี้ การเปลี่ยนยาคุมกำเนิดจากรูปแบบหนึ่งไปเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง เช่น จากยาเม็ดเป็นยาฉีด เป็นต้น ก็ต้องคำนึงถึงช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการเปลี่ยนยาเช่นกัน



การเปลี่ยนยาคุมกำเนิด อาจไม่จำเป็นต้องรอให้ประจำเดือนมาก่อน โดยสามารถปฏิบัติดังแสดงในแผนภาพ ซึ่งจะเห็นว่า บางกรณีมีการใช้ยาคุมกำเนิดต่อเนื่องกันเลยโดยไม่เว้นช่วง หรือบางกรณีจะมีช่วงเวลาคาบเกี่ยวกันระหว่างวิธีเดิมและวิธีใหม่ ขึ้นกับชนิดและรูปแบบของยา ทั้งนี้ เพื่อให้ยาคุมกำเนิดชนิดใหม่ออกฤทธิ์ได้เต็มที่และยาชนิดเดิมหมดฤทธิ์ไปในเวลาเดียวกัน ซึ่งจะช่วยลดโอกาสการตั้งครรภ์ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการเปลี่ยนยาคุมกำเนิด ในกรณีนี้ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการคุมกำเนิดอื่นร่วมด้วย เช่น ถุงยางอนามัย เป็นต้น

แต่หากไม่สามารถปฏิบัติตามวิธีข้างต้น เช่น กำลังรับประทานเม็ดที่ไม่ใช่ฮอร์โมน (เม็ดยาหลอกในแผงยาฮอร์โมนรวมที่มี 28 เม็ด) หรืออยู่ในช่วงรอให้ประจำเดือนมา หรือประจำเดือนมาแล้ว เป็นต้น จะต้องใช้วิธีการคุมกำเนิดอื่นร่วมด้วย เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ เช่น ใช้ถุงยางอนามัย หรืองดมีเพศสัมพันธ์ ใน 7 วันแรกของการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดใหม่

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลทางการแพทย์ในทุกสาขาอาจมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคตเนื่องมาจากผลการศึกษาของงานวิจัยใหม่ๆ ดังนั้น หากต้องการเปลี่ยนยาคุมกำเนิด ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อให้ได้รับคำแนะนำและช่วยวางแผนการเปลี่ยนยาคุมกำเนิดอย่างเหมาะสม



เอกสารอ้างอิง

  1. Lesnewski R, Prine L, Ginzburg R. Preventing gaps when switching contraceptives. Am Fam Physician. 2011;83(5):567-570.
  2. How to Switch Birth Control Methods. Am Fam Physician. 2011;83(5):575-576.
  3. ORTHO EVRA® prescribing information. Available from http://www.orthoevra.com/sites/default/files/assets/OrthoEvraPI.pdf
Others articles

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้

Public Knowledge Articles



View all articles
-->

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

Faculty of Pharmacy, Mahidol University.

447 Sri-Ayuthaya Road, Rajathevi, Bangkok 10400, THAILAND
Designed & Developed by Department of Information Technology, Faculty of Pharmacy, Mahidol University.
Copyright © 2013-2020
 

We use Cookies

This site uses cookies to personalise your experience and analyse site traffic. By Clicking ACCEPT or continuing to browse the site you are agreeing to our use of cookies.