Knowledge Article


สถานะการณ์ราคายาในประเทศไทย


รองศาสตราจารย์ ดร. ชะอรสิน สุขศรีวงศ์
ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
14,964 View,
Since 2013-09-18
Last active: 1h ago

Scan to read on mobile device
 
A - | A +
ในปี 2553 มูลค่ายาเพื่อการบริโภคในประเทศสูงถึง 134,482,077,585 บาท คิดเป็นประมาณร้อยละ 35 ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ มีอัตราการเพิ่มสูงกว่าการเพิ่มขึ้นของการลงทุนด้านสุขภาพ และสูงกว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ สาเหตุของการเพิ่มที่สูงมากนี้ เกิดจากการใช้ยาเกินความจำเป็นโดยเฉพาะยาที่มีราคาแพง การที่ยาราคาแพงมากนั้นเกิดเนื่องจากเป็นยาในสิทธิบัตรซึ่งที่ต้องนำเข้า รัฐบาลของประเทศที่พัฒนาแล้วจะวางนโยบายด้านราคายา พร้อมทั้งจัดตั้งหน่วยงานที่มีประสิทธิภาพเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคายาให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและความสามารถในการจ่าย และในขณะเดียวกันต้องเกิดความเป็นธรรมกับผู้ผลิตยา

ภารกิจสำคัญในการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านยาของประเทศไทยเป็นไปอย่างแยกส่วน ขาดการเสริมแรงซึ่งกันและกัน ขาดหน่วยงานที่รับผิดชอบอย่างเป็นรูปธรรม การกำหนดราคายาตกอยู่ในอำนาจของบริษัทผู้ผลิตยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นยาที่มีผู้ผลิตรายเดียวหรือน้อยราย ซึ่งไม่มีกลไกการตลาดมาควบคุม

ในอีกส่วนหนึ่งของสังคม การใช้ยาที่มีราคาแพงนั้นอาจกระทบต่อกลุ่มผู้ป่วยซึ่งมีกำลังจ่าย แต่ด้วยความไม่เท่าเทียมกันของข้อมูลด้านประสิทธิผลและราคาที่ใช้ประกอบการตัดสินใจซื้อ จะเป็นช่องว่างให้ผู้ผลิตสามารถกำหนดราคายาที่ไม่สมเหตุผลได้ หากไม่มีการกำกับควบคุมดูแลที่เหมาะสมเพียงพอ ผู้บริโภคอาจจะถูกเอารัดเอาเปรียบด้วยการใช้ยาที่มีการตั้งราคาสูงเกินไป ปัญหาราคายาที่ไม่มีการควบคุมดูแลจึงส่งผลกระทบกับผู้ใช้ยาในทุกภาคส่วนของสังคม และยังส่งผลกระทบต่อความถดถอยของอุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศ

การที่ไม่มีระบบการกำหนดและควบคุมราคายาที่เหมาะสม ทำให้ยาที่จำหน่ายในประเทศไทยมีราคาสูงกว่าที่ควรจะเป็น กล่าวคือค่ามัธยฐานของราคายาต้นแบบที่จำหน่ายแก่ผู้ป่วยโดยสถานบริการภาครัฐมีราคาเป็น 4.36 เท่าของราคาอ้างอิงสากล และราคายาต้นแบบที่จำหน่ายแก่ผู้ป่วยในร้านยาภาคเอกชนพบว่ามีราคาสูงถึง 11.6 เท่าของราคายาอ้างอิงสากล

จากข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นว่า ปัญหาราคายาในประเทศเป็นประเด็นหนี่งที่ควรผลักดันให้เกิดการหน่วยงานซึ่งทำหน้าที่กำหนดและควบคุมราคายาในประเทศที่เหมาะสม โปร่งใส โดยหากพิจารณาตามบริบทของระบบสุขภาพของประเทศ พบว่ามาตรการกำหนดและควบคุมราคายาควรได้รับการนำมาบังคับใช้ ทั้งในระยะหลังจากขึ้นทะเบียนยา(ก่อนออกจำหน่าย) ระยะคัดเลือกยาเพื่อบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติ และในระยะการเบิกจ่ายค่ายา โดยใชกลยุทธ์ในการกำหนดและควบคุมราคายาที่เหมาะสมตามบริบทที่เกี่ยวข้อง
Others articles

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้

Public Knowledge Articles



View all articles
-->

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

Faculty of Pharmacy, Mahidol University.

447 Sri-Ayuthaya Road, Rajathevi, Bangkok 10400, THAILAND
Designed & Developed by Department of Information Technology, Faculty of Pharmacy, Mahidol University.
Copyright © 2013-2020
 

We use Cookies

This site uses cookies to personalise your experience and analyse site traffic. By Clicking ACCEPT or continuing to browse the site you are agreeing to our use of cookies.