Knowledge Article


ข้อควรรู้เกี่ยวกับยาหยอดตาที่ไม่ควรมองข้าม


อ. ดร. อัญชลี จินตพัฒนากิจ
ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
152,383 View,
Since 2010-03-09
Last active: 22m ago
https://tinyurl.com/y8279mvh
Scan to read on mobile device
 
A - | A +

เนื่องจากตาเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย และเป็นอวัยวะที่ไวต่อความรู้สึก อย่างคำที่ว่า “ดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ” ดังนั้นการถนอมดวงตาให้อยู่ในสภาพดีและใช้งานได้นานจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น  แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์และกระทู้ข่าวใน internetออกมาเป็นระยะๆ เกี่ยวกับการสูญเสียความสามารถในการมองเห็น ตาบอด หรือบางครั้งถึงกับสูญเสียดวงตาจากการใช้ยาหยอดตา ซึ่งสาเหตุหนึ่งเกิดจากใช้ยาหยอดตาที่ไม่ผ่านมาตรฐานรับรองจากอ.ย.

 

ดวงตาเป็นเนื้อเยื่อที่บอบบางมากและติดเชื้อได้ง่าย ดังนั้นยาเตรียมทุกประเภทที่ต้องสัมผัสกับนัยน์ตาโดยตรงจึงต้องปราศจากเชื้อโรค แบคทีเรีย และเชื้อรา  โดยปกติแล้วยาหยอดตาควรมีค่าความเป็นกรดด่างหรือค่าพี เอช (pH)7.4 และมีค่า Tonicity ใกล้เคียงกับน้ำตาเพื่อให้เวลาหยอดตาแล้วไม่รู้สึกระคายเคืองต่อหากไม่สามารถกำหนด pH ดังกล่าวได้  อาจเตรียมยาหยอดตาให้มีค่า pH อยู่ระหว่าง 5.5 –7.6   ซึ่งเป็นระดับที่สามารถถูกบัพเฟอร์โดยน้ำตาให้อยู่ใน pH 7.4 ได้  ดังนั้นในการผลิตจึงต้องทำด้วยความระมัดระวัง ผลิตยาตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตยา (Good Manufacturing Practice : GMP) เพื่อให้ยาปราศจากการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ สิ่งแปลกปลอมต่างๆ และมีค่าความเป็นกรดด่าง และ tonicity ให้ตรงตามเกณฑ์มาตรฐาน

อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันของการใช้ยาหยอดตาคือ “อายุการใช้งาน”  หลายต่อหลายครั้งที่พบว่าปัญหาการติดเชื้อที่ตา เกิดจากการใช้ยาหยอดตาที่หมดอายุ หรือยาหยอดตาที่มีการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์หลังจากการเปิดใช้ สำหรับยาหยอดตาที่ไม่เคยเปิดใช้ สามารถเก็บไว้ใช้ได้นานเท่าที่มีระบุวันหมดอายุไว้ข้างขวด หรือให้ใช้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 ปีนับจากวันผลิตในกรณีที่ไม่ได้ระบุวันหมดอายุไว้ข้างขวด  โดยทั่วไปยาหยอดตาชนิดขวดจะมีการเติมสารป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย (preservative)ซึ่งจะมีฤทธิ์เต็มที่ภายในหนึ่งเดือนหลังจากเปิดใช้งานครั้งแรก จากนั้นก็ค่อยๆเสื่อมประสิทธิภาพลงทีละน้อย  ดังนั้นจึงไม่ควรใช้ยาหยอดตาเกิน 1 เดือน หลังการเปิดใช้ครั้งแรก เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียที่อาจก่อให้เกิดอันตรายกับดวงตาได้   สำหรับยาหยอดตาบางประเภทที่ไม่มีการผสมสารป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ส่วนมากจะมีอายุการใช้งาน 1 วันหลังจากการเปิดใช้  ดังนั้นเมื่อใช้ครบ 24 ชั่วโมงแล้วใช้ไม่หมด ส่วนที่เหลือควรจะต้องทิ้งไป

 

เอกสารอ้างอิง:

1.  The United States Pharmacopeia/ The National Formulary (USP32/NF27), United States Pharmacopeial Convention, Inc., 2009.


Public Knowledge Articles



View all articles
-->

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

Faculty of Pharmacy, Mahidol University.

447 Sri-Ayuthaya Road, Rajathevi, Bangkok 10400, THAILAND
Designed & Developed by Department of Information Technology, Faculty of Pharmacy, Mahidol University.
Copyright © 2013-2020
 

We use Cookies

This site uses cookies to personalise your experience and analyse site traffic. By Clicking ACCEPT or continuing to browse the site you are agreeing to our use of cookies.