หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ยา Leftose (Lysozyme Chloride) มีประสิทธิภาพเท่าเทียมหรือดีกว่าการใช้ NSAIDs ในผู้ป่วย pharyngitis หรือไม่ครับ และควรเลือกใช้ยาชนิดไหนให้ผู้ป่วยที่เป็น viral pharyngitis ในแง่ของ IESAC ครับ

ถามโดย PP เผยแพร่ตั้งแต่ 07/08/2023-17:13:55 -- 52,215 views
 

คำตอบ

Leftose หรือ lysozyme hydrochloride เป็น mucopolysaccharidase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ได้จากไข่ขาว มีข้อบ่งใช้ในการรักษาคออักเสบเช่นเดียวกับ NSAIDs แต่กลไกการออกฤทธิ์ของ lysozyme hydrochloride ยังไม่ชัดเจน โดยมีการศึกษาว่าอาจจะออกฤทธิ์ยับยั้ง inflammatory cytokines และเป็น immunomodulator ในขณะที่ NSAIDs มีเพียงฤทธิ์ anti-inflammatory ในส่วนของประสิทธิภาพการรักษา ในปัจจุบันยังไม่พบการเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่าง Leftose และ NSAIDs ในผู้ป่วย pharyngitis แต่มีการศึกษาการใช้ oral spray ที่มีส่วนประกอบของ lysozyme hydrochloride และ cetylpyridium chloride พบว่ามีประสิทธิภาพ ความปลอดภัยที่ดี และบรรเทาอาการ tonsillopharyngitis ได้รวดเร็ว ซึ่งวิธีรับประทานยา leftose เพื่อรักษา pharyngitis คือ รับประทานครั้งละ 1 เม็ด 3 เวลา โดยผลข้างเคียงของยา lysozyme chloride ที่อาจเกิดขึ้นได้ คือ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เมื่อเทียบกับ NSAIDs ที่มีข้อควรระวังที่สำคัญ คือ ปวดท้อง และอาจทำให้เป็นแผลในกระเพาะอาหาร จึงควรรับประทานหลังอาหาร ในขณะที่ lysozyme hydrochloride สามารถรับประทานได้ทั้งก่อนหรือหลังอาหาร อย่างไรก็ตามการรักษา viral pharyngitis จะรักษาตามอาการของผู้ป่วย และ lysozyme hydrochloride ไม่ใช่ยาที่แนะนำให้ใช้ในแนวทางการรักษาในปัจจุบัน ดังนั้นการพิจารณาเลือกยารักษาตามอาการให้เหมาะสมกับผู้ป่วยจึงขึ้นกับดุลพินิจของเภสัชกร ซึ่งเภสัชกรควรอธิบายข้อมูล ราคา และข้อควรระวังของยา เพื่อให้ผู้ป่วยตัดสินใจใช้ยา

Reference:
1. Glamočlija U, Mehić M, Šukalo A, Tanović Avdić A, Džananović Jaganjac J. Lysozyme in the treatment of non-infectious sore throat. Bosn J Basic Med Sci. 2020;20(2):281-282.
2. Tagashira A, Nishi K, Matsumoto S, Sugahara T. Anti-inflammatory effect of lysozyme from hen egg white on mouse peritoneal macrophages. Cytotechnology. 2018;70(3):929-938.
3. Carrillo W, Spindola H, Ramos M, Recio I, Carvalho JE. Anti-Inflammatory and Anti-Nociceptive Activities of Native and Modified Hen Egg White Lysozyme. J Med Food. 2016;19(10):978-982.
4. Leftose. Local product insert. MIMS [internet]. 2023. [cited 14/08/2023]. Available from: https://www.mims.com/thailand/drug/leftose/local-product-insert/151127%20Leaflet%20Leftose%2030_TH.pdf
5. Catic T, Mehic M, Binakaj Z, Sahman B, Cordalija V, Kerla A. et al. Efficacy and Safety of Oral Spray Containing Lysozyme and Cetylpyridinium: Subjective Determination of Patients with Tonsillopharyngitis. Mater Sociomed. 2016;28(6):459-463.
6. Viral Pharyngitis Treatment & Management. Infectious diseases. Drug & Diseases. Medscape [internet]. 2023. [cited 26/08/2023]. Available from: https://emedicine.medscape.com/article/225362-treatment

Keywords:
Leftose, lysozyme chloride, NSAIDs





ทางเดินหายใจและหูตาคอจมูก

ดูคำถามทั้งหมด
 
ข่าวยาประจำสัปดาห์ล่าสุด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้