หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ตอนนี้ตั้งครรภ์ เป็นโรคซึมเศร้าก่อนตั้งครรภ์ และรับยา Fluoxetine 20 mg 1เม็ด ตอนเช้า ได้เว้นยาไปช่วง 2-3 เดือนแรก ตอนนี้กลับมากิน มีผลกระทบต่อทารกในครรภ์มั้ยค่ะ เช่นพิการ หรือว่า เกิดมาแล้วเป็นออทิสติกส์

ถามโดย ทัศนีย์ เผยแพร่ตั้งแต่ 24/04/2018-13:22:16 -- 17,719 views
 

คำตอบ

Fluoxetine เป็นยาต้านซึมเศร้า การใช้ยานี้ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้ทำการรักษาอย่างใกล้ชิด ในเรื่องผลของยาต่อการตั้งครรภ์นั้น หากพิจารณาตามการจัดแบ่งประเภทความปลอดภัยของยาต่อการตั้งครรภ์แล้ว ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ในหญิงมีครรภ์ อย่างไรก็ตาม ยานี้มีข้อมูลการใช้ในหญิงมีครรภ์ค่อนข้างมาก ซึ่งในช่วงไตรมาสแรก (ตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก) ไม่พบรายงานถึงผลกระทบต่อการตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ ในไตรมาสที่สอง (ตั้งครรภ์เดือนที่ 4-6) อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดผลกระทบต่อทารกในครรภ์ได้บ้าง แต่โดยรวมแล้วจัดว่ามีความเสี่ยงต่ำ ส่วนการใช้ในไตรมาสสุดท้าย (ตั้งครรภ์เดือนที่ 7-9) ยาอาจมีส่งผลกระทบต่อหัวใจและปอดของทารกแรกคลอดได้บ้าง ส่วนผลต่อทารกหลังคลอด บางแหล่งข้อมูลกล่าวว่า มีการศึกษาอยู่บ้าง (แต่มีจำนวนไม่มาก) โดยดูผลในเด็กที่อายุตั้งแต่ 16 เดือนจนถึง 7 ขวบ ไม่พบผลกระทบต่อไอคิวเด็ก ตรงกันข้ามหากมารดาไม่ได้รับการรักษาโรคซึมเศร้าอาจมีผลต่อไอคิวเด็กได้ ด้วยเหตุนี้จึงแนะนำว่า มารดาต้องได้รับการรักษาโรคซึมเศร้าในขณะต้องครรภ์ และต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ไม่ควรเริ่มรับประทานยานี้เองหรือหยุดยาเองโดยเด็ดขาด Keywords: fluoxetine, ยาต้านซึมเศร้า, การใช้ยาในหญิงมีครรภ์, ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์และทารกในครรภ์

Reference:
1. Fluoxetine (Prozac®). Fact Sheets, by the Organization of Teratology Information Speialists, version January, 2017. https://mothertobaby.org/fact-sheets/fluoxetine-prozac-pregnancy/pdf/
2. Patel BN, Beste J, Blackwell JC. Antidepressant use during pregnancy. FPIN’s clinical inquiries. Am Fam Physician 2011;83:1211-5.
3. Riggin L, Frankel Z, Moretti M, Pupco A, Koren G. The fetal safety of fluoxetine: a systematic review and meta-analysis. J Obstet Gynaecol Can 2013;35:362-9.

Keywords:
-





ระบบประสาท อื่นๆ

ดูคำถามทั้งหมด
 
ข่าวยาประจำสัปดาห์ล่าสุด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้