หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

กินยารักษาไขมันในเลือดสูง และโรคกระดูกพรุน ดังนี้ 1.Calcium carbonate 600 mg. 1 เม็ดหลังอาหารเช้า-เย็น 2. Vitamin D 2 20,000 unit 1เม็ด หลังอาหารเช้า-เย็น 3.Bestatin 20 mg. 1 เม็ดหลังอาหารเย็น ขณะนี้มีอาการท้องผูกมาก ถ่ายแข็งเป็นเม็ดเล็กๆ เพิ่งเริ่มกินยาสเตตินมาประมาณ 2 เดือนกว่า สังเกตว่าอาการท้องผูกก็เริ่มเป็นในระยะนั้นเป็นต้นมา ควรทำอย่างไร ช่วงนี้หยุดกินยาทุกอย่างได้ 2 วันแล้ว

ถามโดย แต๋ว เผยแพร่ตั้งแต่ 22/11/2013-10:14:38 -- 9,951 views
 

คำตอบ

ภาวะท้องผูกอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น ภาวะโรค พฤติกรรมการรับประทานอาหาร ยา หรือกิจวัตรประจำวัน หากพิจารณาในประเด็นอาการข้างเคียงจากยา พบว่าผู้ป่วยได้รับยา 3 ชนิดคือcalcium carbonate, vitamin D2 และ simvastatin (Bestatin®) มีข้อมูลรายงานว่า calcium carbonate ทำให้เกิดท้องผูกได้ 1-10%, ยา simvastatin มีรายงานทำให้เกิดภาวะท้องผูกได้ 6.6% และ vitamin D2 ก็มีรายงานการเกิดภาวะท้องผูกเช่นกันแต่ไม่ระบุอุบัติการณ์ที่แน่ชัด ในกรณีเกิดภาวะท้องผูกอาจเริ่มต้นแก้ไขด้วยการปรับแก้พฤติกรรม เช่น การดื่มน้ำเพิ่มขึ้น หรือการรับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูง แต่หากภาวะท้องผูกยังไม่ดีขึ้นและผู้ป่วยเห็นว่ามีผลรบกวนต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน อาจพิจารณาเปลี่ยนไปใช้ยาที่มีรายงานการเกิดภาวะท้องผูกน้อยกว่า เช่น เปลี่ยนจาก calcium carbonate เป็น calcium citrate (แต่ยาชนิดหลังให้ % แคลเซียมที่ร่างกายจะนำไปใช้ได้ต่ำกว่า) ซึ่งควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรและรวมไปถึงอาจจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนไปใช้ยาลดไขมันชนิดอื่นที่มีรายงานอาการข้างเคียงท้องผูกน้อยกว่า และไม่แนะนำให้ผู้ป่วยหยุดยาเองเนื่องจากภาวะไขมันในเลือดสูงจำเป็นต้องรับประทานอย่างต่อเนื่อง หากหยุดยาเองอาจทำให้เกิดอันตรายได้ Key words: vitaminD2, calcium carbonate, simvastatin, constipation

Reference:
1. Calcium. In: DRUGDEX System [database on the Internet]. Ann Arbor (MI): Truven Health Analytics; 2013 [cited 25 Dec 2013]. Available from: www.micromedexsolutions.com. Subscription required to view

Keywords:
-





หัวใจและหลอดเลือด กล้ามเนื้อและข้อต่อ

ดูคำถามทั้งหมด
 
ข่าวยาประจำสัปดาห์ล่าสุด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้