หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Pioglitazone สามารถใช้กับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ได้หรือไม่

ถามโดย Poo เผยแพร่ตั้งแต่ 09/07/2013-14:42:55 -- 5,885 views
 

คำตอบ

ปัจจุบัน pioglitazone ได้รับการรับรองให้ใช้ในการรักษาเบาหวานชนิดที่ไม่ต้องพึ่ง insulin หรือ type 2 diabetes mellitus เท่านั้น โดยใช้เพียงตัวเดียวหรือใช้ร่วมกับยา sulfonylurea, metformin หรือ insulin รวมถึงการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย (1,2) แต่เนื่องจาก pioglitazone มีฤทธิ์ลดภาวะดื้อ insulin หรือ insulin resistance โดยออกฤทธิ์ผ่าน peroxisome proliferator-activated receptor-ɣ ซึ่งยาดังกล่าวถูกนำมาใช้ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและลดภาวะ insulin resistance ในผู้ป่วย type 2 diabetes mellitus แต่ข้อมูลพบว่าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ต้องพึ่ง insulin หรือ type 1 diabetes mellitus ก็สามารถพบภาวะ insulin resistance ได้เช่นกัน จึงมีแนวคิดนำ pioglitazone มาใช้ในผู้ป่วย type 1 diabetes mellitus โดยหวังฤทธิ์ลด insulin resistance และฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลของ pioglitazone และได้มีการทำการศึกษาเพื่อพิสูจน์แนวคิดดังกล่าว (3) ปี 2006 Zdravkovic และคณะ ได้ศึกษาการใช้ pioglitazone ในผู้ป่วย type 1 diabetes mellitus การศึกษาเป็นแบบ randomized double-blind placebo controlled trial ในผู้ป่วย type 1 diabetes mellitus จำนวน 35 ราย โดยเป็นผู้ป่วย adolescents ที่มีภาวะ insulin resistance ได้รับขนาดยา insulin ในขนาดค่อนข้างสูงอยู่แล้ว และมีระดับ HbA1C สูงกว่าเกณฑ์ สุ่มแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ได้รับ pioglitazone และกลุ่มที่ได้รับยาหลอก ติดตามผู้ป่วยเป็นระยะเวลา 6 เดือน จากผลการศึกษาพบว่า การเปลี่ยนแปลงของระดับ HbA1C ไม่ได้แตกต่างกันระหว่าง 2 กลุ่ม ขนาดยา insulin ที่ใช้ไม่ได้แตกต่างกัน และนอกจากนี้กลุ่มที่ได้รับ pioglitazone ยังมีระดับ body mass index เพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย จากผลการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจากให้ pioglitazone เสริมกับ insulin ในผู้ป่วย adolescent type 1 diabetes mellitus ไม่ได้มีต่อการควบคุมระดับน้ำตาลแตกต่างไปจากยาหลอก (3,4) ในปี 2007 Bhat และคณะ ได้ศึกษาการใช้ pioglitazone ในผู้ป่วย type 1 diabetes mellitus การศึกษาเป็นแบบ randomized double-blind placebo controlled trial ในผู้ป่วย type 1 diabetes mellitus จำนวน 60 ราย ซึ่งผู้ป่วยจะมีภาวะอ้วน และได้รับการรักษาด้วย insulin อยู่แล้ว สุ่มแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ได้รับ pioglitazone 30 mg/day และกลุ่มที่ได้รับยาหลอก ติดตามผู้ป่วยเป็นระยะเวลา 6 เดือน จากผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับ pioglitazone มีระดับ HbA1c ลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก โดยที่ไม่มีผลต่อน้ำหนักตัว ระดับไขมัน และความดันโลหิต (5) นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าเมื่อเปรียบเทียบระหว่าง metformin และ pioglitazone ในผู้ป่วย slowly progressive type 1 diabetes mellitus พบว่า pioglitazone ทำให้เบาหวานในผู้ป่วย slowly progressive type 1 diabetes mellitus พัฒนาไปเร็วขึ้นกว่า metformin (6) ดังนั้นแล้วเนื่องจากในปัจจุบันหลักฐานสนับสนุนการใช้ยา pioglitazone ในผู้ป่วย type 1 diabetes mellitus ยังมีค่อนข้างน้อย และการศึกษาส่วนใหญ่ทำในผู้ป่วยจำนวนน้อย อีกทั้งผลการศึกษายังขัดแย้งกัน ดังนั้นแล้วปัจจุบันยา pioglitazone จึงยังไม่ได้รับการรับรองให้ใช้ในผู้ป่วย type 1 diabetes mellitus Key words: pioglitazone, thiazolidinedione, type 1 diabetes mellitus, insulin-dependent diabetes, เบาหวานประเภท 1, ไพโอกลิตาโซน

Reference:
1. http://wwwapp1.fda.moph.go.th/logistics/drgdrug/DSerch.asp
2. MICROMEDEX 2.0® [Database on the internet]: Truven health analytics; 2013. mobileMicromedex® , Pioglitazone ; [cited 2013 July 11]. Available from: http://www.micromedexsolutions.com
3. George P, Mccrimmon RJ. Potential role of non-insulin adjunct therapy in type 1 diabetes. Diabet Med 2013; 30:179–88.
4. Zdravkovic V, Hamilton JK Daneman D, Cummings EA. pioglitazone ad adjunctive therapy in adolescents with type1 diabetes. J Pediatr 2006;149:845-9.
5. Bhat R, Bhansali A, Bhadada S, Sialy R. effect of pioglitazone therapy in lean type1 diabetes mellitus. Diabetes Research and Clinical Practice 2007;78: 349–54.
6. Shimada A, Shigihara T, Okubo Y, Katsuki T, Yamada Y, Oikawa Y. Pioglitazone may accelerate disease course of slowly progressive type 1 diabetes. Diabetes Metab Res Rev 2011;27:951–3.

Keywords:
-





ฮอร์โมน ทางเดินอาหาร

ดูคำถามทั้งหมด
 
ข่าวยาประจำสัปดาห์ล่าสุด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้