หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ช่วงนี้หายใจไม่ค่อยออก รู้สีกเหมือนไม่ค่อยเต็มท้อง ใช้เครื่องฟอกอากาศแล้วก็เหมือนจะไม่ดีขึ้น พยายามไม่ออกจากบ้านเพราะคาดว่าฝุ่นเยอะ มียาอะไรช่วยได้บ้าง

ถามโดย Chart เผยแพร่ตั้งแต่ 20/01/2025-08:00:35 -- 460 views
 

คำตอบ

อาการหายใจลำบาก คือ อาการหายใจสั้น หายใจได้ไม่สุด หรือรู้สึกแน่นหน้าอก (1) อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ระบบทางเดินหายใจ (โรคหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ปอดบวม) ระบบหัวใจและหลอดเลือด (ภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ) ระบบกล้ามเนื้อและระบบประสาท (โรคกล้ามเนื้อ โรคเส้นประสาท) จิตใจ (ความวิตกกังวล ความเครียด อาการหายใจเกิน) และสาเหตุอื่น ๆ เช่น ภาวะโลหิตจาง ไตวายเฉียบพลัน โรคตับแข็ง (2,3) ในสภาวะฝุ่น PM2.5 ปริมาณมาก พบว่าผู้ป่วยโรคหืดมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการหายใจลำบากเพิ่มขึ้น (4) ส่วนผู้ไม่มีโรคประจำตัว การสัมผัสกับ PM2.5 ทั้งระยะสั้นและระยะยาวส่งผลให้การทำงานของปอดลดลง (5,6) การจัดการอาการเบื้องต้นควรหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น เช่น ฝุ่นละออง ควันบุหรี่ น้ำหอม และใช้หน้ากาก N95 รวมถึงเครื่องฟอกอากาศ หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีฝุ่นมาก หมั่นทำความสะอาดบ้าน เพื่อลดสารก่อภูมิแพ้ เช่น ฝุ่น ไรฝุ่น และเชื้อรา ทั้งนี้การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือสามารถช่วยลดการระคายเคืองได้ ไม่แนะนำให้เลือกใช้ยาด้วยตนเอง เนื่องจากการรักษาอาการหายใจลำบากจำเป็นต้องอาศัยการวินิจฉัยที่ถูกต้อง หากอาการรุนแรง เช่น หายใจไม่ออก แน่นหน้าอก หรือมีอาการแย่ลง ควรรีบพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม

Reference:
1.Bass JB. Dyspnea. Clinical methods: the history, physical, and laboratory examinations. 3rd edition. 1990. In: StatPearls [Internet]. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; 2025.

2.Hashmi MF, Modi P, Basit H, Sharma S. Dyspnea. 2023. In: StatPearls [Internet]. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; 2025.

3.Boonprasop S. Dyspnea: the role of a nurse. J Health Sci. 2012;17(3):328-42.

4.Luo J, Liu H, Hua S, Song L. The correlation of PM2.5 exposure with acute attack and steroid sensitivity in asthma. Biomed Res Int. 2022;2022:2756147.

5.Rice MB, Ljungman PL, Wilker EH, Gold DR, Schwartz JD, Koutrakis P, et al. Short-term exposure to air pollution and lung function in the framingham heart study. Am J Respir Crit Care Med. 2013 Dec 1;188(11):1351-7.

6.Rice MB, Ljungman PL, Wilker EH, Dorans KS, Gold DR, Schwartz J, et al. Long-term exposure to traffic emissions and fine particulate matter and lung function decline in the framingham heart study. Am J Respir Crit Care Med. 2015;191(6):656-64.

Keywords:
หายใจลำบาก, pm2.5





ทางเดินหายใจและหูตาคอจมูก

ดูคำถามทั้งหมด
 
ข่าวยาประจำสัปดาห์ล่าสุด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้