Anticoagulation Self-Monitoring ลดความเสี่ยงในการเกิดก้อนลิ่มเลือดอุดตัน
ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 1 เดือน ธันวาคม ปี 2554 -- อ่านแล้ว 1,757 ครั้ง
ผลการศึกษาแบบ meta-analysis (1357 abstracts ,11 trials) ซึ่งมีผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 6,417 ราย แสดงให้เห็นว่าการติดตามผลการรักษาด้วยตนเองของผู้ป่วย หรือ self-monitoring ของการใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดแบบรับประทาน (oral anticoagulant) สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดก้อนลิ่มเลือดอุดตัน (thromboembolic events) ลงร้อยละ 49 โดยมี Hazard ratio = 0.51 (95% CI 0.31-0.85) เมื่อเปรียบเทียบกับการรักษาแบบปกติ โดยเฉพาะผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 55 ปี ที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Hazard ratio 0.33, 95% CI 0.17-0.66) และผู้ป่วยที่ผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียม (Hazard ratio 0.52, 95% CI 0.35-0.77) โดยพบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสำหรับการเกิด major hemorrhagic events หรือการเสียชีวิต อย่างไรก็ตามผลการศึกษานี้แตกต่างกับการศึกษาแบบ meta-analysis ที่ได้ตีพิมพ์ก่อนหน้านี้ซึ่งพบว่า self-monitoring สามารถลดอัตราการเสียชีวิตลงได้ร้อยละ 26 (odds ratio 0.74, 95% CI 0.63 - 0.87)