หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

AF และแนวโน้มการใช้ยาใน US

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 4 เดือน มกราคม ปี 2547 -- อ่านแล้ว 2,942 ครั้ง
 
ยาสำหรับควบคุมอัตราหรือจังหวะการเต้นหัวใจรวมทั้งยาป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วย atrial fibrillation (AF) มีการเปลี่ยนรูปแบบการใช้ยาในปัจจุบัน





เป้าหมายหลักในการรักษา AF ได้แก่การควบคุมอัตราการเต้นหัวใจห้องล่าง, การรักษาระดับ sinus rhythm และการป้องกันการเกิดภาวะลิ่มเลือดหลุดอุดตันหลอดเลือด (thromboembolism) ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบในผู้ป่วย AF ที่มีหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะเป็นอาการเด่นของโรค การรักษาตามเป้าหมายดังกล่าวจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนโดยเฉพาะโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในที่สุด





Margaret C Fang และคณะได้ศึกษาถึงแนวโน้มการใช้ยาใน AF โดยอาศัยข้อมูลจาก the National Ambulatory Medical Care Survey (NAMCS) เกี่ยวกับผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ทั้งหมด 1,355 ครั้ง ในช่วงปี 1991 ถึง ปี 2000 ที่สหรัฐอเมริกา ประเมินการใช้ยาที่ควบคุมอัตราการเต้น (digoxin, beta-blockers และ calcium channel blockers), รักษาระดับ sinus rhythm (antiarrhythmics class IA, IC และ III) และป้องกันการเกิด thromboembolism (oral anticoagulant และ aspirin)





การใช้ยาสำหรับควบคุมการเต้นโดยรวมลดลงจากร้อยละ 72 ของผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ในช่วงปี 1991 ถึงปี 1992 เหลือร้อยละ 56ในช่วงปี 1999 ถึงปี 2000 (P=0.01) โดยลดการใช้ digoxin เหลือร้อยละ 37 จากเดิมร้อยละ 64 (P<0.001) ขณะที่การใช้ beta-bolcker และ calcium channel blocker ไม่เปลี่ยนแปลง มีการเพิ่มการใช้ amiodarone hydrochloride จากร้อยละ 0.2 เป็นร้อยละ 6.4 (P<0.001) ถึงแม้ว่าการใช้ยาในกลุ่มสำหรับควบคุมจังหวะการเต้นโดยรวมไม่มีการเปลี่ยนแปลง ต่างจาก quinidine ที่ไม่มีการใช้เลยซึ่งเดิมมีการใช้เพียงร้อยละ 5 เท่านั้น (P=0.01)





ส่วนการใช้ oral anticoagulant เพิ่มจากเดิมร้อยละ 28 เป็นร้อยละ 41 (P=0.01) และเพิ่มการใช้มากที่สุดในกลุ่มผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 80 ปี ขึ้นไป (P<0.01) แต่อย่างไรก็ตามพบว่า ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อ stroke มีเพียงร้อยละ 46.5 เท่านั้นที่ได้รับ anticoagulant ในช่วงปี 1999 ถึงปี 2000

 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.1 ยาคุมฉุกเฉิน Emergency contraceptive pills

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้