หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Tobramycin Linked to Risk for Posttherapy Clostridium difficile–Associated Diarrhea

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 1 เดือน ตุลาคม ปี 2552 -- อ่านแล้ว 2,685 ครั้ง
 
องค์การอาหารและยา (FDA) สหรัฐอเมริกาได้อนุมัติการเปลี่ยนแปลงข้อมูลด้านความปลอดภัยบนฉลากยา tobramycin sulfate injection (APP Pharmaceuticals, Inc) เพื่อเตือนถึงความเสี่ยงต่อการเกิด Clostridium difficile–associated diarrhea (CDAD)

การใช้ยาต้านจุลชีพสามารถรบกวน normal flora ในลำไส้ได้ ทำให้เกิด overgrowth ของเชื้อแบคทีเรีย C. difficile ซึ่งเชื้อจะปล่อย toxin A และ B ซึ่งก่อให้เกิด CDAD ในที่สุด ยาต้านจุลชีพเกือบทั้งหมดสามารถก่อให้เกิด CDAD ได้ โดยความรุนแรงจะมีตั้งแต่ mild diarrhea ไปจนถึง fatal colitis และเนื่องจากเชื้อ C.difficile ที่สร้าง hypertoxin สามารถดื้อต่อการรักษาด้วยยาต้านจุลชีพ ซึ่งเชื้อเหล่านี้จะเพิ่ม morbidity และ mortality rate รวมถึงอาจต้องได้รับ colectomy FDA แนะนำว่า CDAD จะต้องได้รับการพิจารณาในผู้ป่วยทุกรายที่มีอาการท้องเสียหลังจากการใช้ยาต้านจุลชีพ และควรได้รับการตรวสอบ medical history เนื่องจากจากอาการของโรคจะรุนแรงในกรณีที่เป็น late-onset พบรายงานการเกิด CDAD หลังจากรักษาด้วยยาต้านจุลชีพเสร็จไปแล้วนานกว่า 2 เดือน

FDA ระบุว่าการรักษาด้วยยาต้านจุลชีพในปัจจุบันสำหรับ primary infection อาจจำเป็นจะต้องหยุดในผู้ป่วยที่มีประวัติ CDAD หรือสงสัยว่าจะเป็น และอาจมีความจำเป็นในการจัดการเรื่อง fluid และ electrolyte, การเสริม protein, การรักษาด้วยยาต้านจุลชีพสำหรับ C. difficile รวมถึงการประเมินเพื่อการผ่าตัดด้วย

Tobramycin เป็นยาต้านจุลชีพกลุ่ม amioglycoside มีข้อบ่งใช้สำหรับการรักษา serious bacterial infection ที่มีสาเหตุจากเชื้อที่ไวต่อยา การใช้รักษาเฉพาะโรค ได้แก่ septicemia; lower respiratory tract infections; central nervous system infections, intra-abdominal infections; skin, bone, and skin structure infections และcomplicated/recurrent urinary tract infections

 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.5 น้ำตาลตกจากยาเบาหวาน (Hypoglycemia from anti-diabetics)

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้