PPIs and Antiplatelet Drugs: Is the Interaction Clinically Relevant?
ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 2 เดือน ตุลาคม ปี 2552 -- อ่านแล้ว 3,641 ครั้ง
จากผลการศึกษาเมื่อเร็วๆนี้พบว่ายากลุ่ม proton-pump inhibitors (PPI) สามารถรบกวน antiplatelet effect และ clinical effectiveness ของยา clopidogrel หลังจากการทำpercutaneous coronary intervention (PCI) โดยผ่านกลไก คือ ยากลุ่ม PPI จะยับยั้ง hepatic conversion จากรูป prodrug ของ clopidogrel ไปเป็น active metabolites ดังนั้นเพื่อเป็นการประเมินปฏิกิริยาระหว่างการใช้ยากลุ่ม PPI, platelet function และ cardiovascular outcome นักวิจัยจึงตรวจสอบข้อมูลจากการศึกษแบบสุ่ม 2 ชิ้นที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทผู้ผลิตยาที่เปรียบเทียบยา clopidogrel กับยากลุ่ม thienopyridine ตัวใหม่ คือ prasugrel ในผู้ป่วย acute coronary syndrome ที่มีแผนในการทำ PCI
จากการศึกษาชิ้นแรกทำโดยสุ่มให้ยา prasugrel หรือ high-dose clopidogrel ในผู้ป่วย 201 ราย มีผู้ป่วย 53 ราย (26%) กำลังได้รับยากลุ่ม PPI ณ เวลาที่ทำการสุ่มให้ยา จากนั้น ทำการวัด platelet function ที่วันแรกและซ้ำอีกครั้งเมื่อเวลาผ่านไป 2 สัปดาห์ ผลที่ได้ในทั้ง 2 กลุ่มพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่ม PPI การยับยั้งของ platelet aggregation ลดลงเกือบทุกครั้งที่ทำการวัด ซึ่งการลดลงในหลายๆครั้งมีนัยสำคัญทางสถิติ
จากการศึกษาชิ้นที่ 2 ทำการสุ่มให้ยา prasugrel หรือ standard-dose clopidogrel ในผู้ป่วยทั้งหมด 13,608 คน แล้วติดตามผลเป็นเวลามากกว่า 1 ปี โดยผู้ป่วยจำนวน 33% กำลังได้รับยากลุ่ม PPI ณ เวลาที่ทำการสุ่มให้ยา ผลที่ได้จากผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มพบว่าไม่มีความเกี่ยวข้องระหว่างการใช้ยากลุ่ม PPI และการเกิด primary clinical endpoint เช่นcardiovascular death, nonfatal myocardial infarction หรือ nonfatal stroke
จากทั้งสองการศึกษาสรุปได้ว่าการใช้ยากลุ่ม PPI ทำให้ประสิทธิภาพในการยับยั้ง platelet aggregation ลดลงพอสมควร ในผู้ป่วยที่ได้รับ clopidogrel หรือ prasugrel แต่ผลดังกล่าวไม่ได้ส่งผลต่อการเกิด adverse cardiovascular event ที่สำคัญ ซึ่งนักวิจัยเสนอว่าสามารถใช้ยาในกลุ่ม PPI ร่วมกับยา antiplatelet ในผู้ป่วยเกือบทั้งหมด