หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Ziconotide ระงับปวดในผู้ป่วยโรคมะเร็งหรือ AIDS

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 2 เดือน มกราคม ปี 2547 -- อ่านแล้ว 3,147 ครั้ง
 
Ziconotide สามารถระงับอาการปวดในผู้ป่วยที่เป้นโรคมะเร็งหรือโรคเอดส์ได้เมื่อให้ยาผ่านทางน้ำไขสันหลัง (intrathecal route)





Ziconotide เป็นยาตัวแรกในกลุ่ม blocking agent ซึ่งเลือกจับ N-type calcium channel ชนิด voltage-sensitive ที่มีการนำมาศึกษาผลทางคลินิกในการระงับการปวด และจะออกฤทธิ์ได้ดีเมื่อให้แบบ intrathecal อาจมีประโยชน์สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมอาการปวดด้วยยาระงับปวดกลุ่ม opioid หรือไม่สามารถทนต่ออาการไม่พึงประสงค์จากยากลุ่ม opioid ได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยโรคมะเร็งหรือโรคเอดส์





Peter S Staat และคณะได้ทำการศึกษาแบบ double-blinded, randomized placebo-controlled trial ในผู้ป่วย 111 รายที่เป็นโรคมะเร็งหรือโรคเอดส์จากศูนย์การศึกษาใน 3 ประเทศได้แก่ สหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลียและเนเธอร์แลนด์ ผู้ป่วยได้รับ ziconotide หรือยาหลอกเป็นสัดส่วนผู้ป่วย 2:1 ตามลำดับ โดยเริ่มให้ intrathecal ziconotide ปรับขนาดในช่วง 5 ถึง 6 วันแรก (initial titration period) จากนั้นให้ยาต่ออีก 5 วัน (maintenance phase) สำหรับในผู้ที่มีการตอบสนองการรักษา และทำการสลับการรักษา (crossover treatment) ในผู้ที่ไม่ตอบสนองการรักษา ผู้ป่วยทั้งหมดมีค่าเฉลี่ย visual analog scale of pain intensity (VASPI) score ตั้งแต่ 50 mm ขึ้นไป





จากการศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยที่สามารถประเมินผลได้พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับ ziconotide 67 ใน 68 ราย และ 38 ใน 40 รายที่ได้รับยาหลอกมีการใช้ยาระงับปวด opioid ตั้งแต่เริ่มแรก (P=0.63) คิดเป็นปริมาณเทียบเท่า oral morphine dosage form เป็น 300 และ 600 mg ต่อวัน ในกลุ่ม ziconotide และยาหลอกตามลำดับ มีผู้ป่วยใช้ intrathecal morphine 36 ราย ในทั้งสองกลุ่มมีค่าเฉลี่ย VASPI score ไม่แตกต่างกัน (P=0.18) ในตอนเริ่มต้น





ภายหลัง initial titration period พบว่ามีการเปลี่ยแปลงค่าเฉลี่ย VASPI score ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในผู้ป่วยที่ได้รับ ziconotide เมื่อเทียบกับยาหลอก (ร้อยละ 53 vs ร้อยละ 2 ,P<0.001) และในกลุ่ม ziconotide สามารถบรรเทาอาการปวดได้ถึงร้อยละ 53 ของกลุ่มส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดีถึงปานกลาง ขณะที่กลุ่มยาหลอกมีเพียงประมาณร้อยละ 18 เท่านั้นที่สามารถบรรเทาอาการปวดได้ (P<0.001) นอกจากนี้ยังพบว่าประสิทธิผลของ ziconotide ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อสิ้นสุดช่วง initial titration period และเข้าสู่ maintenance phase

 
ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้