Peri-meal exercise ลด postprandial TG
ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 2 เดือน มกราคม ปี 2547 -- อ่านแล้ว 2,289 ครั้ง
การออกกำลังกายระดับปานกลางในช่วงก่อนหรือหลังการบริโภคอาหารไขมันสูง สามารถลดระดับไขมัน triglyceride (TG) ในเลือดภายหลังการบริโภคอาหารได้
ระดับ TG ในเลือดที่สูงภายหลังการรับประทานอาหาร (postprandial hypertriglyceridemia) เป็นปัจจัยส่งเสริมการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (atherogenesis) ซึ่งนำไปสู่โรคหัวใจ การออกกำลังกายเป็นวิธีหนึ่งที่มีรายงานว่าสามารถลดปัจจัยดังกล่าวลงได้โดยการเพิ่มการใช้พลังงานภายในร่างกาย (energy expenditure) อาจลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจได้มากขึ้น
Christos S Katsanos และ Robert J Moffatt ได้ร่วมกันศึกษาผลของช่วงเวลาการออกกำลังกายกับ postprandial hypertriglyceridemia จากการบริโภคอาหารไขมันสูง (fat-rich meal) ซึ่งมีไขมันเป็นส่วนประกอบมากถึงร้อยละ 81 ในชายสุภาพดีอายุเฉลี่ยประมาณ 25 ปี 10 ราย วิ่งออกกำลังกายในระดับปานกลาง (ใช้ออกซิเจนร้อยละ 50 ของ maximal oxygen uptake) นาน 90 นาที โดยอาสาสมัครทุกรายต้องผ่านการศึกษา 3 ช่วงได้แก่ การออกกำลังกายเสร็จสิ้นก่อนรับประทานอาหาร 30 นาที (EM trial) หรือเริ่มหลังจากรับประทานอาหารแล้ว 90 นาที (ME trial) และรับประทานอาหารอย่างเดียวไม่ออกกำลังกาย (CON trial)
ทั้งใน EM และ ME trial พบว่าระดับ postprandial hypertriglyceridemia ต่ำกว่าใน CON trial เมื่อเทียบกัน (P<0.05) ขณะที่ระดับ insulin ในเลือดหลังรับประทานอาหารไม่แตกต่างกันทั้ง 3 กลุ่ม (P>0.05)
อย่างไรก็ตามผู้ทำการวิจัยเชื่อว่านอกจาก muscle lipoprotein lipase activity ที่เพิ่มขึ้นขณะออกกำลังกายซึ่งมีผลต่อระดับ TG ในเลือดดังกล่าวแล้วยังมีกลไกอื่นช่วยลดการตอบสนองที่ทำให้ระดับไขมันในเลือดสูงร่วมด้วย