หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

การศึกษาแบบสุ่มของยา rosuvastatin ในการป้องกันการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 5 เดือน มีนาคม ปี 2552 -- อ่านแล้ว 1,487 ครั้ง
 
การศึกษาทำในผู้ป่วยจำนวน 17,802 รายที่มี low-density lipoprotein (LDL) cholesterol ต่ำกว่า 130 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรและมี C-reactive protein มากกว่าหรือเท่ากับ 2.0 มิลลิกรัม โดยสุ่มผู้ป่วยให้ได้รับ rosuvastatin 20 มิลลิกรัมหรือยาหลอกและติดตามการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันบริเวณปอดหรือในหลอดเลือดดำครั้งแรก ทำการวิเคราะห์แบบ intention-to-treat ผลการศึกษาพบว่ามีผู้ป่วย 94 รายเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันซึ่งอยู่ในกลุ่มที่ได้รับ rosuvastatin 34 รายและ 60 รายในกลุ่มที่ได้รับยาหลอก อัตราการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำมีค่าเท่ากับ 0.09 และ 0.2 ในกลุ่มที่ได้รับ rosuvastatin และยาหลอกตามลำดับ (hazard ratio = 0.45; p = 0.004) ขณะที่อัตราการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอดมีค่าเท่ากับ 0.09 และ 0.12 ตามลำดับ (hazard ratio = 0.77; p = 0.42) อัตราการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่ไม่ได้เกิดร่วมกับโรคมะเร็ง การบาดเจ็บ การนอนโรงพยาบาลหรือการผ่าตัดมีค่าเท่ากับ 0.10 และ 0.17 ในกลุ่มที่ได้รับ rosuvastatin และยาหลอกตามลำดับ (hazard ratio = 0.61; p = 0.09) ขณะที่อัตราการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับโรคมะเร็ง การบาดเจ็บ การนอนโรงพยาบาลหรือการผ่าตัดมีค่าเท่ากับ 0.08 และ 0.16 ตามลำดับ (hazard ratio = 0.52; p = 0.03) จากการศึกสรุปว่า rosuvastatin สามารถลดการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันได้อย่างมีนัยสำคัญ
 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.2 เกลือแร่สำหรับท้องเสีย ORS (Oral Rehydration Salts)

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้