หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

CA vs Non-CA based therapy ลดความดันผู้ป่วย CAD

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 3 เดือน ธันวาคม ปี 2547 -- อ่านแล้ว 9,972 ครั้ง
 
กลยุทธ์การรักษาโรคความดันโลหิตสูงที่เป็น combined therapy ที่ใช้ calcium antagonist เป็นยาพื้นฐานหลัก ให้ผลการรักษาไม่แตกต่างกับเช่นเดียวกับที่ใช้ beta-blocker เป็นยาหลัก ในผู้ป่วย coronary artery disease (CAD)

ประสิทธิภาพการรักษายาลดความดันโลหิตในผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวนั้นมีเพียงการวิเคราะห์แบบ subgroup analysis จากการศึกษาขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับกับโรคความดันโลหิตสูง และ การรักษาด้วยยาในผู้ป่วยกลุ่มนี้มักเริ่มด้วยยาหลายตัวเพื่อลดความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ตามแนวทาง the sixth report of the Joint National Committee on Prevention, Detection, Evaluation, and Treatment of High Blood Pressure (JNC VI)

calcium antgonist (CA), verapamil,เคยมีรายงานลดความเสี่ยงในการศึกษาเกี่ยวกับ acute CAD ลดความดันโลหิตและปกป้องอวัยวะได้ดีเมื่อให้ร่วมกับยากลุ่ม Angiotensin Converting Enzyme (ACE) inhibitor อาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วย CAD Carl J Pepineและคณะ ผู้ทำการศึกษา the International Verapamil-Trandolapril Study (INVEST) ในผู้ป่วย CAD ที่มีความดันโลหิตสูงอายุ 50 ปี ขึ้นไป เปรียบเทียบประสิทธิภาพ verapamil SR-Trandolapril based strategies เป็น calcium antagonist strategies (CAS) และ กลยุทธ์มาตรฐาน atenolol-hydrochlorothiazide based strategies (Non-CAS) ระยะเวลาการติดตามเฉลี่ย 2.7 ปี การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบ open label, randomized controlled trial (RCT)

ที่เวลา 24 เดือนของการศึกษาพบว่าทั้งกลุ่ม CAS และ Non-CAS ให้ผลไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญเกี่ยวกับ primary outcome (all-caused death,nonfatal myocardial infarction และ nonfatal stroke) รวมทั้ง secondary outcome บางตัวได้แก่ cardiovascular death, hospitalization และ blood pressure control

อาการไม่พึงประสงค์ที่พบมากในกลุ่ม CAS ได้แก่ อาการท้องผูกและไอ ส่วนกลุ่ม Non-CAS จะเป็นอาการหายใจไม่สะดวก (dyspnea), เบาหัว (lightheadness), หัวใจเต้นช้า (symptomatic bradycardia) และ หายใจมีเสียงวีด (wheezing) ส่วนอาการปวดเค้น (angina) แม้ว่าจะไม่แตกต่างในทั้งสองกลุ่ม แต่พบความถี่อาการต่ำกว่าในกลุ่ม CAS (P=0.02) นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มเกิดการตายหรือการรุดหน้าของโรคเบาหวานต่ำกว่ากลุ่ม Non-CAS ซึ่งอาจเป็นผลจาก trandolapril ขณะที่ hydrochlorothiazide เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานอย่างไม่มีนัยสำคัญเช่นกัน

clinical equivalence ระหว่าง กลุ่ม CAS และ Non-CAS ในการป้องกันการตาย, myocardial infarction และ stroke สนับสนุนการใช้ในผู้ป่วย CAD ที่ต้องการควบคุมความดันโลหิต การเลือกใช้กลยุทธ์ขึ้นกับ adverse experiences, ประวัติ heart failure, diabetes risk และการตัดสินใจของแพทย์ กลุ่มผู้ทำการศึกษาสรุปตอนท้าย

 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.1 ยาคุมฉุกเฉิน Emergency contraceptive pills

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้