ยาลดไขมันในเลือดไม่เสี่ยงต่ออาการทางจิต
ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 2 เดือน ธันวาคม ปี 2546 -- อ่านแล้ว 2,954 ครั้ง
การใช้ยาลดไขมันในเลือดไม่พบว่าเพิ่มความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย หรืออาการซึมเศร้าไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม HMGCoA reductase inhibitor (statin) หรือ กลุ่มอื่น ๆ ก็ตาม
มีรายงานก่อนหน้านี้ถึงผลการใช้ยาลดไขมันในเลือด (Lowering Lipid Drugs;LLDs) สามารถลดอัตราการตายจาก coronary heart disease (CHD) แต่กลับเพิ่มอัตราการตายจากสาเหตุอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การฆ่าตัวตายและการก่อความรุนแรง อย่างไรก็ตามยังไม่มีการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น Chen-Chang Yang และคณะได้ทำการศึกษาเพื่อประเมินผล LLDs ต่อ ผลกระทบทางจิตได้แก่ อาการซึมเศร้า และ พฤติกรรมการฆ่าตัวตาย
case-control study ในอัตราส่วน 1 : 4 (case : control) จากฐานข้อมูลงานวิจัยใน UK ผู้ป่วยอายุเฉลี่ย 55 ปี มี 458 ราย เพิ่งได้รับการวินิจฉัยมีอาการซึมเศร้าเป็นครั้งแรก (1,830 ราย เป็น control), 105 ราย มีพฤติกรรมฆ่าตัวตาย (420 ราย เป็น control) พบว่า ในกลุ่มที่มีอาการซึมเศร้า ที่มีการใช้ยา LLDs ในปัจจุบันได้แก่ กลุ่ม statin (ทั้งที่น้อยกว่าและตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป) ไม่สัมพันธ์กับอาการซึมเศร้า รวมทั้งกลุ่มอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน สำหรับกลุ่มถัดมาที่มีพฤติกรรมฆ่าตัวตาย ไม่พบความสัมพันธ์กับการใช้ยา LLDs ใด ๆ เลย โดยทั้งสองกลุ่มดังกล่าวเทียบกับ ผู้ป่วยที่มีไขมันในเลือดสูงและไม่ใช้ยา LLDs
ยิ่งไปกว่านั้นยังพบว่ากลุ่มย่อยผู้มีโรค ischemic heart disease มาก่อนมีแนวโน้มเสี่ยงต่ออาการซึมเศร้าต่ำกว่ากลุ่มผู้ที่ไม่มีโรคดังกล่าวในกลุ่มที่มีการใช้ยา statin ในปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตามขาดข้อมูลการออกกำลังกายซึ่งเป็นที่มีผลต่อ CHD และมีความสัมพันธ์ตรงกันข้ามกับอาการซึมเศร้าของผู้ป่วย
ผลการศึกษาที่พบไม่สนับสนุนการใช้ยา LLDs เพิ่มความเสี่ยงต่ออาการซึมเศร้า หรือ พฤติกรรมการฆ่าตัวตาย ตรงกันข้ามกลับพบว่า การใช้ยากลุ่ม statin ในปัจจุบันนั้นลดความเสี่ยง และลดลงมากขึ้นตามระยะเวลาการใช้ยา รวมทั้งในรายที่เคยเป็น CHD มาก่อน กลุ่มผู้ทำการศึกษาสรุปตอนท้าย