หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

การใช้ pantoprazole ชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำในผู้ป่วย GERD

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 4 เดือน สิงหาคม ปี 2549 -- อ่านแล้ว 27,137 ครั้ง
 
ในผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนสู่หลอดอาหาร (Gastroesophageal Reflux Disease , GERD) บางรายไม่สามารถรับประทานยาได้ แพทย์จึงจำเป็นต้องให้ยากลุ่ม proton pump inhibitor ชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำแทน จึงมีการศึกษาถึงประสิทธิผลและความปลอดภัยของ pantoprazole ชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำในผู้ป่วยที่ไม่เคยได้รับการรักษาด้วย proton pump inhibitor มาก่อน และไม่ได้อยู่ในระหว่างการรักษาด้วย proton pump inhibitor ชนิดรับประทาน

การศึกษาเป็นแบบ double-blind, placebo-controlled, double-dummy, randomized, parallel-group study ตั้งแต่ 5 พฤศจิกายน 2002 ถึง 25 มีนาคม 2003 ในผู้ป่วยที่มีประวัติหลอดอาหารมีแผลและอักเสบภายใน 5 ปี ทั้งชายและหญิง แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่รับการฉีด pantoprazole เข้าหลอดเลือดดำในขนาด 40 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง, กลุ่มที่รับประทาน pantoprazole วันละ 40 มิลลิกรัม และกลุ่มที่ได้รับยาหลอก เป็นเวลา 7 วัน สามารถรับประทานยาลดกรด gelusil เพื่อบรรเทาอาการ GERD ได้เมื่อจำเป็น พบว่า ปริมาณกรดที่หลั่งออกมาสูงสุดเมื่อมีการกระตุ้นด้วย pentagastrin ในผู้ป่วยที่ได้รับ pantoprazole ชนิดฉีด, ชนิดรับประทานและยาหลอกเท่ากับ 8.4, 6.3 และ 20.9 mEq/h ตามลำดับ และปริมาณกรดที่หลั่งตามปกติในผู้ป่วยที่ได้รับ pantoprazole ชนิดฉีด, ชนิดรับประทานและยาหลอกเท่ากับ 0.4, 0.6 และ 2.8 mEq/h ตามลำดับ pantoprazole ทั้งชนิดฉีดและรับประทานสามารถยับยั้งการหลั่งกรดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับยาหลอก แต่ผลของ pantoprazole ทั้ง 2 ชนิดไม่แตกต่างกัน ในแง่ของความถี่ของอาการ GERD ในผู้ป่วยที่ได้รับ pantoprazole ชนิดฉีด, ชนิดรับประทานและยาหลอกลดลง 6.7, 6.6 และ 0.6 ตามลำดับ และความรุนแรงของ GERD ในผู้ป่วยที่ได้รับ pantoprazole ชนิดฉีด, ชนิดรับประทานและยาหลอกเท่ากับ 0.9, 0.6 และ 0.1 ตามลำดับ ในผู้ป่วยที่ได้ pantoprazole ทั้งชนิดฉีดและรับประทาน ต้องใช้ gelusil เพื่อบรรเทาอาการ GERD น้อยกว่ากลุ่มที่ได้ยาหลอก อาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้ คือ ปวดศีรษะ, หลอดเลือดขยาย, คลื่นไส้ และเวียนศีรษะ

ทั้ง pantoprazole ชนิดฉีดและชนิดรับประทานในขนาดวันละ 40 มิลลิกรัมสามารถยับยั้งการหลั่งกรดทั้งในภาวะปกติและเมื่อถูกกระตุ้นด้วย pentagastrin ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงใช้ pantoprazole ชนิดฉีดเพื่อเริ่มต้นการรักษาผู้ป่วย GERD ที่มีประวัติของหลอดอาหารมีแผลและอักเสบในกรณีที่ผู้ป่วยนั้นไม่สามารถรับประทานยาได้

 
ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้