Botulinum toxin ข้อบ่งใช้ใหม่สำหรับการรักษาคอบิดเกร็ง
ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 2 เดือน กุมภาพันธ์ ปี 2567 -- อ่านแล้ว 1,567 ครั้ง
โบทูลินั่มท็อกซิน (botulinum toxin) คือ โปรตีนจากแบคทีเรีย Clostridium botulinum ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งสารสื่อประสาท acetylcholine (ACh) จากปลายประสาทกล้ามเนื้อและระบบประสาทอัตโนมัติพาราซิมพาเธติก (parasympathetic)1 จึงทำให้กล้ามเนื้อซึ่งต้องอาศัยเซลล์ประสาทในการทำงานเกิดภาวะคล้ายอัมพาต นิยมฉีดโบทูนั่มท็อกซินเพื่อลบเลือนริ้วรอยบนใบหน้าที่เกิดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ เช่น บริเวณหน้าผาก ระหว่างคิ้ว หรือหางตา เป็นต้น โดยนอกจากการใช้เพื่อความสวยงามแล้ว ในปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกาอนุมัติการใช้โบทูลินั่มท็อกซินของบริษัทหนึ่ง [DAXXIFY® (daxibotulinumtoxinA-lanm)] สำหรับรักษา cervical dystonia หรืออาการคอบิดเกร็ง ซึ่งส่งผลให้ตำแหน่งของศีรษะ คอ ไหล่ อยู่ผิดตำแหน่ง และเกิดอาการเจ็บปวด โดยในประเทศสหรัฐอเมริกามีผู้ป่วยโรคคอบิดเกร็งประมาณ 60,000 คน โดยข้อบ่งใช้นี้ได้จากการศึกษาชื่อ ASPEN-1 ซึ่งทำในผู้ป่วยโรคคอบิดเกร็งที่มีความรุนแรงระดับปานกลางถึงรุนแรงมาก จำนวน 301 คน ผลการศึกษาพบว่า daxibotulinumtoxinA-lanm มีประสิทธิภาพ และความปลอดภัยจากการใช้ใน 125 ถึง 250 units โดยมีระยะเวลาการออกฤทธิ์อยู่ที่ประมาณ 24 สัปดาห์ และมีการรายงานผลข้างเคียงของยาที่พบ ได้แก่ มีปัญหาการกลืนลำบาก2,3
เอกสารอ้างอิง
1. วินัย วนานุกูล. โบทูลินั่ม แอนตี้ท็อกซิน. ภาควิชาอายุรศาสตร์. คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. มหาวิทยาลัยมหิดล [internet]. n.d. [cited 23/08/2023]. Available from: https://www.rama.mahidol.ac.th/poisoncenter/sites/default/files/public/pdf/books/Antidote_book2-03_Botulinum-antitoxin.pdf.
2. Botulinum Toxin Daxxify Gets FDA Nod for Cervical Dystonia. News alerts. Medscape medical news. Medscape [internet]. 2023. [cited 20/08/2023]. Available from: https://www.medscape.com/viewarticle/995488.
3. Investigative Botulinum Toxin More Effective in Cervical Dystonia?. MDS 2021. Conferences News. Medscape medical news. Medscape [internet]. 2021. [cited 20/08/2023]. Available from: https://www.medscape.com/viewarticle/959379.
คำค้นที่เกี่ยวข้อง:
Botulinum toxin
การรักษาคอบิดเกร็ง
โบทูลินั่มท็อกซิน