ผลของยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน 2 ชนิดต่อระดับ homocysteine ในหญิงที่เป็น PCOS
ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 3 เดือน มกราคม ปี 2549 -- อ่านแล้ว 4,284 ครั้ง
Polycystic ovary syndrome (PCOS) เป็นโรคที่พบบ่อยทางสูตินรีเวช เชื่อว่าอาจจะสัมพันธ์กับความบกพร่องของ glucose tolerance, เบาหวานชนิดที่ 2, โรคอ้วน, โรคไขมันในเลือดสูง และโรคหัวใจและหลอดเลือด ในหญิงที่เป็น PCOS พบว่ามีค่า homocysteine (Hcy) สูงกว่าปกติ และ Hcy ในเลือดที่สูงกว่าปกตินั้น เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด atherosclerosis ปกติในหญิงที่เป็น PCOS มักจะได้รับการรักษาด้วยยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน จึงมีการประเมินประสิทธิผลของยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน 2 ชนิดต่อระดับ Hcy ในเลือด โดยแบ่งผู้ป่วย PCOS เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับยาคุมกำเนิดชนิดรับประทานชนิด biphasic ( ethynylestradiol (EE) 40 ไมโครกรัม + desogestrol (DSG) 25 ไมโครกรัม ใน 7 วันแรก และ EE 30 ไมโครกรัม + DSG 125 ไมโครกรัมใน 14 วันถัดไป) จำนวน 10 คน กับกลุ่มที่ได้รับยาคุมกำเนิดชนิดรับประทานชนิด monophasic ( EE 35 ไมโครกรัม + cyproterone acetate 2 มิลลิกรัม) จำนวน 10 คน อาสาสมัครทั้งหมดรับประทานยาคุมกำเนิดติดต่อกันเป็นเวลา 6 เดือน แล้วเปรียบเทียบค่า folate, vitamin B12, Hcy, insulin sensitivity (SI) และ glucose utilization independent of insulin (Sg) ก่อนและหลังการรักษา พบว่าค่า folate, vitamin B12 ทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกัน ในกลุ่มที่ได้รับ EE/DSG SI ลดลง (-0.840.4 U; p<0.05) และ Sg เพิ่มขึ้น (0.009±0.03 U; p<0.05) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่มีผลต่อ Hcy ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับ EE/CPA Hcy ลดลง (-1.94±1.1 mol/L; p<0.05) และ SI เพิ่มขึ้น (1.12±1.1 U; p<0.05) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่มีผลต่อ Sg จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า หญิงที่เป็น PCOS ที่ได้รับยาคุมกำเนิดชนิดรับประทานชนิด EE/CPA จะทำให้ SI ดีขึ้นและลด Hcy ได้ด้วย