Ramucirumab (VEGFR2 monoclonal antibody) กับข้อบ่งใช้ใหม่สำหรับรักษาโรคมะเร็งตับ
ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 4 เดือน พฤษภาคม ปี 2562 -- อ่านแล้ว 2,822 ครั้ง
Ramucirumab เป็น recombinant human IgG1 monoclonal antibody ออกฤทธิ์จับจำเพาะกับ vascular endothelial growth factor receptor 2 (VEGFR2) จึงขัดขวางการจับของ vascular endothelial growth factor (ทั้ง VEGF-A, VEGF-C และ VEGF-D) กับตัวรับดังกล่าว ทำให้ยับยั้งการงอกของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงก้อนเนื้องอก ก่อนหน้านี้ ramucirumab ได้รับอนุมัติแล้วในข้อบ่งใช้สำหรับรักษาโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร โรคมะเร็งปอดชนิด non-small cell lung cancer และโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ (colorectal cancer) (ดูข้อมูลเพิ่มเติมในข่าวยาเรื่อง “Ramucirumab…ยารักษาโรคมะเร็งกระเพาะอาหารและโรคมะเร็งปอด” ได้ที่ https://pharmacy.mahidol.ac.th/dic/news_week_full.php?id=1257) เมื่อเร็วๆ นี้ ยานี้ได้รับอนุมัติในข้อบ่งใช้ใหม่สำหรับการรักษาโรคมะเร็งตับ (hepatocellular carcinoma) ในผู้ที่ได้รับการรักษาด้วย sorafenib แต่ควบคุมโรคได้ไม่ดี โดยยังมีค่า alpha fetoprotein ตั้งแต่ 400 นาโนกรัม/มิลลิลิตรขึ้นไป โดยใช้ ramucirumab เป็นยาเดี่ยวในขนาด 8 มิลลิกรัม/กิโลกรัม หยดเข้าหลอดเลือดดำทุก 2 สัปดาห์
การที่ ramucirumab ได้รับอนุมัติในข้อบ่งใช้สำหรับรักษาโรคมะเร็งตับนั้น มีการศึกษาทางคลินิกระยะที่ 3 ซึ่งเป็น multinational, randomized, double-blind, placebo-controlled, multicenter trial (REACH-2 study) มาสนับสนุน โดยศึกษาในผู้ป่วยโรคมะเร็งตับที่ได้รับการรักษาด้วย sorafenib แต่ยังมีค่า alpha fetoprotein ตั้งแต่ 400 นาโนกรัม/มิลลิลิตร ขึ้นไป หรือผู้ที่ทนต่อการใช้ sorafenib ไม่ได้ ให้ยาจนกว่าโรคจะลุกลาม (ยาใช้ไม่ได้ผล) หรือทนต่ออาการพิษไม่ได้ ประเมินผลการรักษาด้วย overall survival และ progression-free survival ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มที่ได้รับ ramucirumab (n=197) ขนาด 8 มิลลิกรัม/กิโลกรัม หยดเข้าหลอดเลือดดำ ทุก 2 สัปดาห์ ให้ผลดีกว่ากลุ่มยาหลอก (n=95) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ไม่ว่าจะประเมินด้วย overall survival (ค่ากลาง 8.5 เดือน เทียบกับ 7.3 เดือน) และ progression-free survival (ค่ากลาง 2.8 เดือน เทียบกับ 1.6 เดือน) โดยกลุ่มที่ได้รับยามี overall response rate (4.6% เทียบกับ 1.1%) และ disease control rate (59.9% เทียบกับ 38.9%) สูงกว่ากลุ่มยาหลอก ส่วนอาการไม่พึงประสงค์ที่พบ เช่น อ่อนล้า แขนขาบวม ความดันโลหิตสูง ปวดท้อง ความอยากอาหารลดลง พบโปรตีนในปัสสาวะ คลื่นไส้ มีน้ำคั่งในช่องท้อง
อ้างอิงจาก:
(1) Cyramza (ramucirumab). Highlights of prescribing information. Reference ID: 4431552, revised: 5/2019. https://www.accessdata.fda.gov/drugsatfda_docs/label/2019/125477s029lbl.pdf; (2) Zhu AX, Kang YK, Yen CJ, Finn RS, Galle PR, Llovet JM, et al. Ramucirumab after sorafenib in patients with advanced hepatocellular carcinoma and increased α-fetoprotein concentrations (REACH-2): a randomised, double-blind, placebo-controlled, phase 3 trial. Lancet Oncol 2019;20:282-96; (3) Turkes F, Chau I. Ramucirumab and its use in the treatment of hepatocellular carcinoma. Future Oncol 2019;15:979-88.
คำค้นที่เกี่ยวข้อง:
ramucirumab
recombinant human IgG1 monoclonal antibody
vascular endothelial growth factor receptor 2
VEGFR2
vascular endothelial growth factor
VEGF-A
VEGF-C
VEGF-D
โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
โรคมะเร็งปอดชนิด non-small cell lung cancer
โรคมะเร็งล