Ramucirumab…ยารักษาโรคมะเร็งกระเพาะอาหารและโรคมะเร็งปอด
ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 2 เดือน มกราคม ปี 2558 -- อ่านแล้ว 5,793 ครั้ง
Ramucirumab เป็น recombinant human IgG1 monoclonal antibody ชนิด fully human monoclonal antibody ที่ออกฤทธิ์เจาะจงในการจับกับ vascular endothelial growth factor receptor 2 (VEGFR2) จึงขัดขวางการจับของ vascular endothelial growth factor (VEGF) กับตัวรับดังกล่าว ทำให้ยับยั้งการงอกของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงก้อนเนื้องอก ยานี้ได้รับอนุมัติให้จำหน่ายแล้วในบางประเทศก่อนกลางปี 2014 ในข้อบ่งใช้สำหรับรักษาโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร (gastric cancer; stomach cancer) ระยะลุกลามหรือแพร่กระจาย รวมถึงมะเร็งที่รอยต่อกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร (gastro-esophageal junction adenocarcinoma) โดยใช้เป็นยาเดี่ยวหรือใช้ร่วมกับ paclitaxel ในผู้ที่ผ่านการรักษาด้วย fluoropyrimidines (เช่น 5-fluorouracil; 5-FU) หรือ platinum-containing chemotherapy (เช่น cisplatin, carboplatin) มาแล้ว และเมื่อปลายปี 2014 ได้รับอนุมัติในข้อบ่งใช้สำหรับรักษาโรคมะเร็งปอดชนิด non-small cell lung cancer ระยะแพร่กระจายในรายได้รับ platinum-containing chemotherapy มาแล้ว โดยใช้ร่วมกับ docetaxel นอกจากนี้ยังมีการศึกษาถึงการนำ ramucirumab มาใช้กับ solid tumors ชนิดอื่นๆ เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งตับ เป็นต้น แต่โรคมะเร็งทั้งสองชนิดนี้ตอบสนองต่อยาไม่ดี
Ramucirumab ผลิตออกจำหน่ายในรูปยาน้ำสำหรับให้ทางหลอดเลือดดำอย่างช้าๆ (intravenous infusion) นาน 60 นาที ขนาดที่แนะนำสำหรับรักษาโรคมะเร็งทั้งสองชนิดจะต่างกัน กล่าวคือ กรณีโรคมะเร็งกระเพาะอาหารใช้ 8 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ทุก 2 สัปดาห์ และหากใช้ร่วมกับ paclitaxel จะให้ ramucirumab ก่อน ส่วนกรณีโรคมะเร็งปอดใช้ 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ทุก 21 วัน (21-day cycle) โดยให้ก่อน docetaxel (75 มิลลิกรัม/ตร.ม. ทุก 21 วัน) ในการรักษาโรคมะเร็งทั้งสองกรณีจะให้ยาไปเรื่อยๆ จนไม่สามารถควบคุมโรคได้หรือทนต่ออาการพิษจากยาไม่ได้
การที่ ramucirumab ได้รับอนุมัติในข้อบ่งใช้สำหรับรักษาโรคมะเร็งกระเพาะอาหารนั้น มีข้อมูลทางคลินิกสนับสนุน เป็นการศึกษาแบบ multi-center, randomized (2:1), double-blind, placebo-controlled trial ศึกษาในผู้ป่วย 355 คน ที่เป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารระยะลุกลามหรือแพร่กระจาย โดยรวมถึงมะเร็งที่รอยต่อกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร ซึ่งผู้ป่วยผ่านการรักษาด้วย fluoropyrimidines หรือ platinum-containing chemotherapy มาแล้ว การรักษาจะทำร่วมกับ “best supportive care” พบว่ากลุ่มที่ได้รับ ramucirumab มี median overall survival อยู่ที่ 5.2 เดือน เทียบกับ 3.8 เดือนในกลุ่มยาหลอก นอกจากนี้ในกลุ่มที่ได้รับยาพบว่าการเจริญของเนื้องอกดำเนินไปช้ากว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก ส่วนอาการไม่พึงประสงค์ที่พบ เช่น ความดันโลหิตสูง ท้องเดิน เป็นต้น ส่วนกรณีที่ได้รับอนุมัติให้วางจำหน่ายในข้อบ่งใช้สำหรับรักษาโรคมะเร็งปอดชนิด non-small cell lung cancer นั้น มีข้อมูลทางคลินิกที่สนับสนุน เป็นการศึกษาในผู้ป่วย 1,253 คน ที่เป็นโรคมะเร็งดังกล่าวในระยะแพร่กระจาย โดยใช้ยานี้ร่วมกับ docetaxel พบว่ากลุ่มที่ได้รับยามีชีวิตอยู่ต่อไปได้เฉลี่ย 10.5 เดือน เทียบกับ 9.1 เดือนในกลุ่มที่ได้รับ docetaxel ร่วมกับยาหลอก ส่วนอาการไม่พึงประสงค์ที่พบ เช่น เม็ดเลือดขาวลดลง อ่อนล้า มีการอักเสบภายในปาก มีเลือดออกรุนแรง ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น
อ้างอิงจาก:
(1) Ramucirumab approval. http://www.fda.gov/Drugs/InformationOnDrugs/ApprovedDrugs/ucm394260.htm และ http://www.fda.gov/Drugs/InformationOnDrugs/ApprovedDrugs/ucm426735.htm; (2) FDA approves ramucirumab for non-small cell lung cancer. http://www.medscape.com/viewarticle/836523; (3) Ramucirumab. http://www.rxlist.com/cyramza-drug.htm
คำค้นที่เกี่ยวข้อง:
ramucirumab
recombinant human IgG1 monoclonal antibody
fully human monoclonal antibody
vascular endothelial growth factor receptor 2
VEGFR2
vascular endothelial growth factor
VEGF
gastric cancer
stomach cancer
gastro-esophageal junction aden