ในช่วงเดือนรอมฎอนหรือช่วงถือศีลอดของชาวมุสลิม จะมีการงดรับประทานอาหารรวมไปถึงยารักษาโรคตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นไปจนกระทั่งพระอาทิตย์ตกดิน แต่โดยทั่วไปแล้ว ผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่เหมาะกับการอดอาหาร เนื่องจากจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (hypoglycemia) จากการอดอาหาร หรือเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (hyperglycemia) จากการงดทานยารักษาเบาหวาน ดังนั้นบุคลากรทางการแพทย์ควรให้ความใส่ใจและให้ข้อมูลการดูแลตนเองเป็นพิเศษแก่ชาวมุสลิมที่ถือศีลอดในเดือนรอมฎอนนี้
ตามแนวทางการรักษาเบาหวานสำหรับผู้ถือศีลอดของ American Diabetes Association (ADA)ปี 2010 ระบุว่าในคนไข้เบาหวานชนิดที่ 1 (type 1 diabetes) ควรปรับขนาดอินซูลินให้เหมาะสมโดยแพทย์ในช่วงถือศีลอด และทำการตรวจวัดระดับน้ำตาลอย่างสม่ำเสมอ ส่วนคนไข้เบาหวานชนิดที่ 2 (type 2 diabetes) ควรมีการปรับเปลี่ยนวิธีการรับประทานยา ดังนี้
- คนไข้ที่ปกติได้รับ metformin วันละ 3 ครั้ง ให้ทาน 1 เม็ดพร้อมอาหารเช้าก่อนพระอาทิตย์ขึ้น และอีก 2 เม็ด พร้อมอาหารมื้อเย็น
- ควรหลีกเลี่ยงการใช้ long-acting sulfonylureas
- สำหรับคนที่ใช้ once-daily sulfonylureasให้รับประทานยาในมื้อเย็น
- สำหรับคนไข้ที่ปกติได้รับsulfonylureasวันละสองครั้ง ให้ทาน 1 เม็ดในมื้อเย็น และลดขนาดลงครึ่งหนึ่งตอนมื้อเช้าก่อนอาทิตย์ขึ้นหรืองดทานเลยหากมีอาการ hypoglycemia
- หากได้รับยาในกลุ่ม short-acting insulin secretagogues,thiazolidinediones, alpha-glucosidase inhibitors, incretin-based therapies หรือbromocriptineไม่จำเป็นต้องปรับขนาดยาหรือวิธีการรับประทาน
- Basal insulin ควรมีการปรับลดขนาดลง ร้อยละ 30-40 หรือตามความเหมาะสม
- ยาฉีดอินซูลินชนิดmixed หรือ intermediate-actingควรเปลี่ยนเป็น basal insulin
- สำหรับคนไข้ที่ปกติได้รับrapid-acting insulin วันละสองครั้ง ให้ฉีด 1 ครั้งก่อนอาหารมื้อเย็น และลดขนาดลงครึ่งหนึ่งตอนมื้อเช้าก่อนอาทิตย์ขึ้นหรืองดเลยหากมีอาการ hypoglycemia
นอกจากการปรับขนาดยาและวิธีรับประทานแล้ว คนไข้ควรเข้ารับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ หากระดับน้ำตาลต่ำกว่า 70 mg/dLหรือสูงกว่า 250mg/dLควรหยุดการถือศีลอด ส่วนการรับประทานอาหารควรทานแต่พอดี ไม่ทานมากเกินไป
Key words: Diabetes, management, Ramadan, เบาหวาน, รอมฎอน, ศีลอด