Stroke เป็นภาวะที่เกิดได้ภายในช่วงสัปดาห์แรกๆ หลังเกิดภาวะ transient ischemic attack (TIA) หรือ minor ischemic stroke งานวิจัยของ Yongjun Wang และคณะ ได้ทำการศึกษาเพื่อพิสูจน์ว่าการให้ combination antiplatelet ในผู้ป่วยกลุ่ม TIA หรือ minor ischemic stroke สามารถป้องกันการเกิดเป็น stroke ได้ดีกว่าการใช้ aspirin ตัวเดียวหรือไม่ การศึกษาดังกล่าวชื่อว่า CHANCE study (Clopidogrel in High-risk patients with Acute Nondisabling Cerebrovascular Events) ซึ่งเป็นการศึกษาแบบ randomized double blind placebo controlled trial ทำการศึกษาจำนวน 114 centers ในประเทศจีน คัดเลือกผู้ป่วยที่มีภาวะ minor ischemic stroke หรือ high risk of transient ischemic attack จำนวน 5170 ราย ผู้ป่วยได้รับการสุ่มแบ่งกลุ่มเป็น 2 กลุ่ม และเริ่มรับยาภายใน 24 ชั่วโมง โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับยา combination ระหว่าง clopidogrel และ aspirin (clopidogrel เริ่มต้น 300 mg และลดขนาดเป็น 75 mg/day เป็นระยะเวลา 90 วัน ร่วมกับ aspirin 75 mg/day เป็นระยะเวลา 21 วัน) และกลุ่มที่ได้รับยา placebo ร่วมกับ aspirin (aspirin 75 mg/day เป็นระยะเวลา 90 วัน) โดยที่ผู้ป่วยทุกรายได้รับยา aspirin 75-300 mg ในวันแรก
จากผลการศึกษาพบว่าเกิด stroke ขึ้น 8.2% ในผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับ clopidogrel ร่วมกับ aspirin และ 11.7% ในผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับ aspirin ร่วมกับ placebo ภายใน 90 วัน (Hazard ration 0.68 ; 95% CI 0.57-0.81; P< 0.001). ส่วนอาการข้างเคียงการเกิด bleeding ไม่แตกต่างกันระหว่างสองกลุ่ม โดยพบรายงายการเกิดเลือดออกในระดับปานกลางหรือรุนแรง (moderate or severe hemorrhage) ในผู้ป่วย 7 ราย (0.3%) ในผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับ clopidogrel ร่วมกับ aspirin และ 8 ราย (0.3%) ในผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับ aspirin ร่วมกับ placebo (P = 0.73) และอัตราการเกิด hemorrhagic stroke เท่ากันคือ 0.3% ในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม ดังนั้นแล้วผู้ป่วยที่มีภาวะ TIA หรือ minor stroke การให้ combination ระหว่าง clopidogrel และ aspirin ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมงแรกหลังเกิดอาการสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิด stroke ได้มากกว่าการใช้ aspirin ตัวเดียว โดยไม่ได้เพิ่มความเสียงต่อการเกิด hemorrhage
เนื่องจากการศึกษาก่อนหน้านี้ซึ่งเป็นการศึกษาการให้ clopidogrel aspirin combination หลังจากเกิด stroke พบว่าการให้ combination ไม่ได้มีประโยชน์มากไปกว่า monotherapy อีกทั้งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด bleeding อีกด้วย แต่ผลจาก CHANCE study ให้ผลที่แตกต่าง อาจเนื่องจากการศึกษาดังกล่าวใช้กลุ่มผู้ป่วยและระยะเวลาที่เริ่มทำการรักษาแตกต่างกันด้วย (1)
การศึกษานี้ทำในผู้ป่วยเชื้อสายจีน เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิด intracranial atherosclerosis และน่าจะได้ประโยชน์จากการได้ dual antiplatelet มากกว่า แต่การนำผลการศึกษาไปใช้กับผู้ที่ไม่ได้มีเชื้อสายจีนยังไม่สามารถสรุปได้ แต่อย่างไรก็ตามมีการศึกษาในลักษณะคล้ายๆ กับ CHANCE study ซึ่งทำในผู้ป่วยที่อยู่ในทางตะวันตก ชื่อว่า Platelet-Oriented Inhibition in New TIA and Minor Ischemic Stroke (POINT) trial แต่ POINT trial ยังไม่เสร็จ ซึ่งการนำผลการศึกษาไปใช้อาจต้องรอผลการศึกษาจากการศึกษาดังกล่าว (2)
Key words: antiplatelet, aspirin, clopidogrel, stroke, transient ischemic attack, TIA, dual antiplatelet, CHANCE study