หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

การใช้โบท็อกซ์ในการรักษา Overactive bladder

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 3 เดือน มกราคม ปี 2556 -- อ่านแล้ว 3,787 ครั้ง
 
คณะกรรมการอาหารและยา ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เพิ่มข้อบ่งใช้ของโบท็อกซ์ (onabotulinumtoxinA)ในการรักษาoveractive bladder ในผู้ใหญ่ ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาในกลุ่ม anticholinergics

ภาวะ overactive bladder คือภาวะที่กระเพาะปัสสาวะบีบตัวมากผิดปกติ อาการที่พบได้แก่ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ รู้สึกปวดปัสสาวะขึ้นทันทีทันใดและปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ เมื่อฉีดสารโบท็อกซ์ที่กล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะ (bladder muscle)จะทำให้กระเพาะปัสสาวะคลายตัวและสามารถบรรจุปัสสาวะได้มากขึ้น

การศึกษาทางคลินิกในคนไข้ที่มีภาวะ overactive bladder 1,105 คน โดยทำการแบ่งคนไข้ออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกได้รับการฉีดสารโบท็อกซ์ที่กล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะ ส่วนกลุ่มที่สองได้รับยาหลอก หลังจากนั้น 12 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มที่ได้รับสารโบท็อกซ์มีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่และความถี่ในการปัสสาวะต่อวันน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก อีกทั้งยังมีปริมาณปัสสาวะต่อครั้งสูงกว่าอีกด้วย

อาการข้างเคียงที่พบระหว่างการศึกษา ได้แก่ การติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะปวดระหว่างปัสสาวะและปัสสาวะคั่ง
 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.1 ยาคุมฉุกเฉิน Emergency contraceptive pills

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้