การถ่ายเลือดอาจช่วยลดอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อ(sepsis) และ ภาวะช็อคจากการติดเชื้อ (septic shock)
ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 2 เดือน ตุลาคม ปี 2555 -- อ่านแล้ว 7,319 ครั้ง
นายแพทย์ Dae Won Park จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกาหลี และคณะได้ทำการศึกษาผลของการถ่ายเลือด(transfusions)กับอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อขั้นรุนแรง (severe sepsis) และ ภาวะช็อคจากการติดเชื้อ (septic shock) โดยเปรียบเทียบข้อมูลในกลุ่มผู้ที่ได้รับการถ่ายเลือด 407 ราย กับกลุ่มที่ไม่ได้รับการถ่ายเลือด 647 ราย พบว่า กลุ่มที่ได้รับการถ่ายเลือดจะมีค่าฮีโมโกลบินเฉลี่ย ตอนเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการถ่ายเลือด (12.4 vs 10.3 g/dL) และได้รับการถ่ายเลือดเมื่อค่าฮีโมโกลบินเฉลี่ย ประมาณ 7.7 g/dl การถ่ายเลือดช่วยลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตภายใน 7วัน ภายใน 28 วัน และลดอัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาลได้อย่างมีนัยสำคัญคิดเป็นความเสี่ยงที่ลดลงร้อยละ 58, 57 และ 49 ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์โดยการจับคู่กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการถ่ายเลือดและไม่ได้รับแต่มีลักษณะพื้นฐานคล้ายกันจำนวน 152 คู่ ก็ให้ผลเช่นเดียวกัน สอดคล้องกับการศึกษาก่อนหน้านี้ในกลุ่มผู้ป่วยที่เข้ารักษาตัวในหออภิบาลผู้ป่วยหนัก (ICU) ที่ชื่อว่า SOAP study และ Sakr study อย่างไรก็ตาม ยังต้องมีการศึกษายืนยันประโยชน์ของการถ่ายเลือดในกลุ่มผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะวิกฤติต่อไป