หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Selenium สัมพันธ์กับการลดลงของความเสี่ยงของการเกิดเบาหวาน

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 4 เดือน มิถุนายน ปี 2555 -- อ่านแล้ว 2,559 ครั้ง
 
ในการศึกษาขนาดใหญ่ในประเทศสหรัฐอเมริกาชี้ให้เห็นว่า ผู้ที่รับประทานอาหารที่มี selenium มีการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ลดลง 24 % เนื่องจาก selenium มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ โดยปกติแล้วสามารถพบ selenium ได้ในดินบางพื้นที่ ซึ่งเมื่อเรารับประทานผักที่ปลูกจากดินที่มี selenium จะทำให้ได้รับ selenium เข้าสู่ร่างกาย จากการศึกษาถึงผลระยะยาวของการได้รับ selenium ต่อความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวาน ได้ทำการติดตามกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นโรคเบาหวานหรือโรคหัวใจ ประกอบด้วยผู้หญิง 3,639 คน และผู้ชาย 3,535 คน ระหว่างปี 1982-1987 พบว่ามีเพียง 10% ของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ตลอดช่วงที่ทำการศึกษา คิดเป็นความเสี่ยงของการเกิดเบาหวานลดลง 24% โดยเปรียบเทียบระหว่าง 20% ของกลุ่มที่มี selenium ในเล็บเท้ามากที่สุด กับ 20% ของกลุ่มที่มี selenium ในเล็บเท้าน้อยที่สุด นอกจากนี้ยังพบความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงของความเสี่ยงที่ลดลงและปริมาณ selenium ที่เพิ่มขึ้นในร่างกาย อย่างไรก็ตาม Institute of Medicine แห่งสหรัฐอเมริกาได้แนะนำให้ผู้ใหญ่บริโภค selenium ในแต่ละวันประมาณ 55 ไมโครกรัม ตัวอย่างอาหารที่มีธาตุนี้ เช่น ไข่ไก่ 1 ฟองมี selenium เท่ากับ 15 ไมโครกรัม แม้ว่าพิษของ selenium จะเกิดขึ้นได้ยาก แต่กระนั้นก็มีคำแนะนำให้รับประทานไม่เกิน 400 ไมโครกรัมต่อวันเพื่อหลีกเลี่ยงอาการข้างเคียง เช่น อาการปวดท้อง ผมร่วง และระบบประสาทถูกทำลาย
 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.4 ยาอันตรายควบคุม (Controlled dangerous drugs)

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้