หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อยากทราบ max dose ของการให้ยา dopamine และอยากทราบว่าทำไมบางคนได้ยาเป็น 1:1 บางคน 2:1 มีหลักเกณฑ์อย่างไรที่จะเลือกให้แบบไหน และกลไกลการออกฤทธิ์

ถามโดย เป็ดน้อย เผยแพร่ตั้งแต่ 27/12/2013-23:03:26 -- 35,166 views
 

คำตอบ

Dopamine เป็นยาที่ใช้ร่วมในการรักษาภาวะช็อก กลไกการออกฤทธิ์คือยา dopamine เป็นสารตั้งต้นของ norepinephrine ออกฤทธิ์ทั้งต่อ adrenergic และ dopaminergic receptors ผลในทางคลินิกขึ้นกับขนาดคือ • Dopamine ขนาดต่ำ (0.5 - 3 mcg/kg/min) จะกระตุ้น dopaminergic D1 postsynaptic receptors ซึ่งพบได้มากที่ coronary, renal, mesenteric, and cerebral beds และยังกระตุ้น D2 presynaptic receptors ซึ่งพบที่ vasculature and renal tissues ส่งผลให้หลอดเลือดขยายตัว (vasodilation) เพิ่มการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงยังอวัยวะเหล่านี้ • Dopamine ขนาดปานกลาง (3 - 10 mcg/kg/min) จะจับกับ bata 1 receptors อย่างอ่อนๆ กระตุ้นการปลดปล่อย norepinephrine และยับยั้งการ reuptake สู่ presynaptic sympathetic nerve terminals ทำให้เพิ่มการบีบตัวของหัวใจ (cardiac contractility) ความเร็วของการเต้นของหัวใจ (chronotropy) และยังมีผลเพิ่ม systemic vascular resistance (SVR) ได้เล็กน้อย • Dopamine ขนาดที่สูง (10-20 mcg/kg/min) จะไปมีผลต่อ alpha 1 adrenergic receptor ส่งผลให้เกิดการหดตัวของหลอดเลือดเด่นขึ้น ขนาดยาสูงสุดของ dopamine ในบางสภาวะเช่น cardiogenic shock, congestive heart failure, decreased cardiac output, renal failure, septic shock, shock due to myocardial infarction, trauma or open heart surgery ได้กำหนดขนาดยาสูงสุดไว้ที่ 50 mcg/kg/min แต่ในบางกรณี เช่น acute symptomatic bradyarrhythmia และ acute cardiac arrest – hypotension ไม่ได้ระบุขนาดยาสูงสุดไว้แต่ให้ค่อยๆ titrate ขนาดยาเพิ่มขึ้นจนมีการตอบสนอง ส่วนการผสมยา dopamine ที่ความเข้มข้น 2:1 หรือ 1:1 (ตัวยาเป็นหน่วยเป็น mg ต่อตัวทำละลายหน่วยเป็น ml) จะใช้ปริมาตรของตัวทำละลายแตกต่างกัน ในกรณีที่ผสม dopamine 2:1 ซึ่งมีความเข้มข้นมากกว่าการผสมแบบ 1:1 จะใช้ตัวทำลายน้อยกว่าจึงเหมาะกับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องจำกัดสารน้ำ เช่น ผู้ป่วยไตวาย ผู้ป่วยบวมน้ำ หรืออื่นๆ Key words: dopamine, maximum dose, mechanism of action

Reference:
1. Dopamine . In: DRUGDEX System [database on the internet]. Ann Arbor (MI): Truven Health Analytics; 2014[cited 10 Jan 2014]. Available from: www.micromedexsolutions.com
2. Overgaard CB, Dzavik V. Inotropes and Vasopressors Review of Physiology and Clinical Use in Cardiovascular Disease. Circulation2008; 118: 1047-56.

Keywords:
-





หัวใจและหลอดเลือด

ดูคำถามทั้งหมด
 
ข่าวยาประจำสัปดาห์ล่าสุด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้