หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

การใช้ยา เเอนติบอดี้ ในโรคหวัด ท้องเสีย และบาดแผลสด

ถามโดย กอล์ฟ เผยแพร่ตั้งแต่ 10/06/2009-23:50:03 -- 4,923 views
 

คำตอบ

แอนติบอดี (Antibody, Ab) เป็นสารนํ้ าที่สร้างและหลั่งจาก plasma cell ซึ่งมีคุณสมบัติคือ สามารถจับกับ antigenic determinant ของแอนติเจน (antigen, Ag) ที่เป็นตัวกระตุ้นได้อย่างจํ าเพาะ เมื่อนําซีรั่มมาแยกโปรตีนด้วยกระแสไฟฟ้า (electrophoresis) พบว่าแอนติบอดีส่วนใหญ่อยู่ในส่วนของ γ-globulin และมีส่วนน้อยที่อยู่ในส่วนของ β-globulin ดังนั้นจึงเรียกแอนติบอดีได้ว่า Immunoglobulin แอนติบอดีหรืออิมมูโนโกลบุลิน พบได้ในซีรั่ม ส่วนนํ้าอื่น ๆ ของร่างกายและเนื้อเยื่อ เช่น น้ำไขสันหลัง นํ้านม นํ้าลาย นํ้าตา ต่อมนํ้าเหลือง ม้ามและบนผิวของลิมโฟซัยท์บางชนิด อิมมูโนโกลบุลินเป็น สารพวก glycoprotein ประกอบด้วย polypeptide 82-96% และ carbohydrate 4-18% ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแอนติบอดีที่ยอมรับกันในปัจจุบัน คือ \"clonal selection theory\" ของ Sir Macfarlane Burnet ชาวออสเตรเลีย ซึ่งกล่าวไว้ว่า B lymphocyte ทุกตัวจะมียีนส์สําหรับกําหนดการทําหน้าที่ของมันอยู่แล้วตั้งแต่ยังไม่ได้พบกับแอนติเจน ยีนดังกล่าวจะเป็นตัวกํ าหนดว่า B lymphocyte นั้น ๆ จะทําหน้าที่ตอบสนองต่อแอนติเจนใด เมื่อมีแอนติเจนเข้าสู่ร่างกาย เฉพาะ B lymphocyte ที่มีความจําเพาะต่อแอนติเจนนั้น ๆ เท่านั้นที่จะมีปฏิกิริยาตอบสนองโดยการแบ่งตัว(proliferation) และเปลี่ยนแปลง (differentiation) เกิดเป็นกลุ่ม (clone) ของเซลล์ที่ทํ าหน้าที่ผลิตแอนติบอดีที่จํ าเพาะต่อแอนติเจนนั้น คุณสมบัติของอิมมูโนโกลบุลิน IgG เป็นอิมมูโนโกลบุลินที่มีปริมาณมากที่สุดในซีรั่ม มีความสามารถในการกําจัดแบคทีเรีย ไวรัสและ toxin เป็นอิมมูโนโกลบุลินที่ถูกสร้างมากที่สุดเมื่อมี secondary immune response IgA พบได้ทั้งในซีรั่มและในสารคัดหลั่ง (secretion) ของร่างกาย, IgA ในซีรั่มส่วนใหญ่จะเป็น monomer, ส่วน IgA ในสารคัดหลั่งต่าง ๆ จะเรียกว่า secretory IgA (SIgA) ซึ่งจะอยู่ในรูป polymer (dimer หรือ trimer) SIgA จะพบได้มากในนํ้ านมของมารดาที่หลั่งครั้งแรก ๆ (colostrum) ซึ่งจะเป็นกลไกการถ่ายทอดภูมิคุ้มกันจากมารดาไปสู่ทารกหลังคลอดเพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคต่าง ๆได้ SIgA และ serum IgA ที่อยู่ในรูปของ polymer จะมี J chain (joining chain) ซึ่งเชื่อม H-chain ของสองโมเลกุลเข้าด้วยกันนอกจากนี้ใน SIgA ยังมี Sc (secretory component) ซึ่งเกาะอยู่ระหว่าง H-chain ของทั้ง 2โมเลกุลด้วย ซึ่งจะทํ าให้ SIgA ทนต่อการถูกย่อยด้วยเอนซัยม์ที่มีอยู่ในระบบทาง เดินอาหารและระบบทางเดินหายใจ เนื่องจาก SIgA ช่วยป้องกันการติดเชื้อบนผิวเยื่อเมือกของระบบทางเดินอาหารและระบบทางเดินหายใจ จึงกล่าวได้ว่า SIgA เป็น \"first line of defense\" เพราะมันอยู่ตรงบริเวณที่เป็นทางเข้าของสิ่งแปลกปลอมจึงเป็นสิ่งที่ร่างกายใช้ป้องกันตนเองในด่านแรกนั่นเอง IgM ทั่ว ๆ ไป IgM ในซีรั่มจะเป็น pentamer คือประกอบด้วย IgM ที่เป็น monomer (เหมือนกับ IgG) 5 โมเลกุล เชื่อมต่อกันโดย disulfide bond และ J-chain ในสารคัดหลั่งของลํ าไส้คนปกติจะพบ IgM พร้อมทั้ง J-chain และ secretory component ได้จํ านวนเล็กน้อย IgM เป็นอิมมูโนโกลบุลิน class แรกที่ร่างกายสร้างขึ้นเมื่อได้รับแอนติเจนเป็นครั้งแรก (primary immune response) และก็เป็น class แรกอีกเช่นกันที่ทารกสร้างขึ้นได้เอง ดังนั้นจะตรวจพบ IgM ได้ระดับสูงในซีรั่มของทารกแรกคลอดที่ติดเชื้อตั้งแต่ในครรภ์มารดา IgM เป็นอิมมูโนโกลบุลินที่มีความจํ าเพาะต่อ lipopolysaccharide ของ gram 8 negative bacteria จึงเป็น แอนติบอดีตัวสํ าคัญที่ช่วยต่อสู้กับจุลชีพนั้นๆ แอนติบอดีที่เกิดเองตามธรรมชาติ (natural antibody) ส่วนใหญ่จะเป็น IgM เช่น แอนติบอดีของหมู่เลือด IgM ยังถือว่าเป็น first line of defense เช่นเดียวกับ SIgA เพราะพบได้ในสารคัดหลั่งของลํ าไส้ นอกจากนั้นยังเชื่อว่าเป็น first line of defense ต่อจุลชีพที่เข้าทางกระแสเลือดอีกด้วย เพราะพบมากในกระแสเลือด แต่ไม่ค่อยพบในเนื้อเยื่ออื่น ๆ IgD พบน้อยมากในซีรั่ม ส่วนใหญ่จะเป็น IgD ที่หลุดออกมากจากผิวของ B lymphocyte ความสํ าคัญเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับขบวนการการเปลี่ยนแปลงการผลิต H-chain ชนิดต่าง ๆ บนผิวของ B lymphocyte ปกติจะพบ IgD และ IgM บนผิวของ B lymphocyte มากกว่าอิมมูโนโกลบุลิน class อื่น ๆ เรียกว่าเป็น surface Ig IgE ตรวจพบได้ในสารคัดหลั่งของร่างกายและพบน้อยมากในซีรั่ม เกี่ยวข้องกับขบวนการการเกิดโรคภูมิแพ้ชนิด anaphylaxis หรือ type I hypersensitivity และพบว่ามีระดับสูงในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อปรสิต กลไกการทํ างานของ IgE คือ IgE ที่ถูกกระตุ้นด้วยแอนติเจนในครั้งแรกจะไปเกาะกับ basophil หรือ mast cell โดยใช้ส่วน Fc จับกับ Fc receptor ที่อยู่บน basophil หรือ mast cell นั้น ๆเมื่อมีแอนติเจนตัวเดิมเข้าไปอีกครั้งก็จะจับกับ Fab ของ IgE ที่เกาะอยู่บนเซลล์ดังกล่าว ทําให้มีการกระตุ้นให้เซลล์หลั่งสารที่เป็น mediator ต่าง ๆ เช่น histamine ฯลฯ ออกจาก granule ซึ่งอยู่ภายในเซลล์ทํ าให้เกิดอาการแพ้ต่าง ๆ ได้ และยังดึงดูด eosinophil มาเพื่อกํ าจัดเชื้อปรสิตด้วย (chemotactic factor for eosinoplil) Reference:http://202.28.95.5/11Department/micro/public_html/TeachingAid/Suwin/Ab.pdf. จากคุณสมบัติของแอนติบอดีที่เกิดจากการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันต่อแอนติเจนที่แปลกปลอมจะเกิดผลคือร่างกายสามารถกำจัดสารพิษ จุลชีพ ปรสิต และสิ่งแปลกปลอมอื่นๆออกจากร่างกายได้ สำหรับการใช้แอนติบอดีในการรักษาโรคหวัดพบข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการนำมาใช้รักษาโรคไข้หวัดนก http://www.thainihnic.org/Files/3Mab.pdf ส่วนในเรื่องบาดแผลสดที่ถามมานั้นมีการใช้แอนติบอดีในการป้องกันการเกิดบาดทะยักและไม่พบข้อมูลในการใช้แอนติบอดีในการรักษาอาการท้องเสียค่ะ

Reference:
http://202.28.95.5/11Department/micro/public_html/TeachingAid/Suwin/Ab.pdf.

http://www.thainihnic.org/Files/3Mab.pdf

Keywords:
-





ภูมิคุ้มกันและการติดเชื้อ

ดูคำถามทั้งหมด
 
ข่าวยาประจำสัปดาห์ล่าสุด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้