หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

หากจะใช้สมุนไพรกานพลูกับผักคราดหัวแหวน มีข้อควรระวัง/ข้อห้ามใช้อย่างไรบ้าง

ถามโดย woodie เผยแพร่ตั้งแต่ 18/08/2008-10:06:19 -- 2,893 views
 

คำตอบ

สำหรับข้อมูลความเป้นพิษพบมีรายงานแต่ในสัตว์ทดลองสำหรับกานพลูการทดสอบความเป็นพิษ เมื่อป้อนสารสกัดด้วยอัลกอฮอล์ 50% จากดอก ขนาด 10 ก./กก. ให้หนูถีบจักร ไม่พบพิษใดๆ และขนาดของสารสกัดที่ทำให้สัตว์ทดลองตาย 50% (LD50) โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนูถีบจักร เท่ากับ 6.184 ก./กก. ค่า LD50 ของสารสกัดด้วยอัลกอฮอล์ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) เมื่อป้อนให้หนูถีบจักรและหนูขาว อยู่ระหว่าง 3.2-3.6 และ 4.8-4.9 ก./กก. ตามลำดับ ความเข้มข้นของน้ำมันกานพลูที่ทำให้ลูกหอยตาย 50% (LC50) เมื่อทดสอบในระบบชีววิเคราะห์แบบน้ำนิ่งเป็นเวลา 24 ชม. เท่ากับ 13.76 ppm LC50ของน้ำมันกานพลูเมื่อทดสอบในปลา Penaeus semisulcatus หลังจาก 1 ชม. และ 24 ชม. เท่ากับ 130 และ 30 มก./ล. ตามลำดับ และ LC50 ของน้ำมันกานพลูต่อปลา rainbow trout ภายใน 10 นาที เท่ากับ 81.1 มล./ล. LC0.1 และ LC99.9 (ความเข้มข้นของน้ำมันกานพลูที่ทำให้ปลาตาย 0.1% และ 99.9% ตามลำดับ) ภายใน 10 นาที เท่ากับ 63.9 และ 100.1 มล./ล. ตามลำดับ และ LC50, LC0.1 และ LC99.9 ภายใน 96 ชม. เท่ากับ 14.1, 12.5 และ 16.2 มก./ล. ตามลำดับ มีผู้ศึกษาพบว่าขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่งของ eugenol ในหนูขาว หนูตะเภา และหนูถีบจักร = 2.68, 2.13 และ 3 ก./กก. ตามลำดับ ส่วนขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่งในหนูขาว = 1.8 ซี.ซี. หรือ 1.93 ก./กก. เมื่อป้อนให้หนูขาว อาการเป็นพิษที่พบ คือ มีอาการเป็นอัมพาต โดยเริ่มที่ขาหลัง และกรามล่าง ส่วนอาการเป็นอัมพาตที่ขาหน้าจะเป็นเมื่ออาการโคม่า หรือเหนื่อยมากๆ อาจมีอาการปัสสาวะเป็นเลือด ระบบไหลเวียนของโลหิตล้มเหลว มีอาการน้ำคั่ง ถ้าให้หนูขาวกิน eugenol 0.1% ขนาด 24 ซี.ซี .และ 1% ขนาด 6 ซี.ซี. พบว่ามีการทำลายตับอ่อน ขาดไขมันในช่องท้อง ต่อมไธมัสมีขนาดเล็กลง ม้ามโต และต่อมในกระเพาะอาหารฝ่อ ส่วนพิษในสุนัข พบว่าเมื่อกรอก eugenol เข้ากระเพาะ อุณหภูมิร่างกายลด ชีพจรเต้นแรง แต่อัตราการหายใจไม่เปลี่ยน อาจมีการอาเจียนเมื่อให้ขนาด 2.5 ก./10 กก. ขนาดสูงสุดที่ให้คือ 5 ก./10 กก. จะพบอาการพิษดังกล่าวถึง 65% อาจพบการเคลื่อนไหวของขาหลังผิดปกติ และพบว่าเมื่อให้ขนาดสูงสุด อาจทำให้สุนัขตายได้ 2 ใน 6 ขนาดที่ปลอดภัย คือ 0.2 ก./กก. แม้จะให้ถึง 10 ครั้ง ในช่วง 3 สัปดาห์ ก็ไม่พบอันตราย การฉีด eugenol เข้าระบบไหลเวียนโลหิตโดยตรง ทำให้ความดันโลหิต และการเต้นของหัวใจลดลงชั่วขณะ โดยไม่ทำให้อัตราการเต้นเปลี่ยนแปลง การฉีด eugenol เข้าหลอดเลือดแดง ทำให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณนั้นมากกว่าปกติ Eugenol ทำให้โปรตีนในเซลล์ของเนื้อเยื่ออ่อนในปากถูกทำลาย การจับตัวของเซลล์ลดลง บวม และเกิดเป็นไต ชั้นใต้ผิวหนังชั้นนอกบวม กล้ามเนื้ออ่อนแอ ความเข้มข้นของสาร eugenol ที่ทำให้ปลา Danio rerio (Hamilton) ตาย 50% เท่ากับ 21 ppm เมื่อฉีดสาร oleanolic acid จากกานพลู ขนาด 60 มก./กก. เข้าช่องท้องหนูขาว ไม่พบพิษ แต่จะมีอาการท้องเสียเล็กน้อยในวันที่ 4 และ 5 และเมื่อฉีดโพลีแซคคาไรด์ที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูงและมีน้ำหนักโมเลกุลต่ำที่สกัดแยกจากดอกกานพลูเข้าเส้นเลือดบริเวณหางหนูถีบจักร พบว่า โพลีแซคคาไรด์ที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูง ขนาด 100 มก./กก. ไม่ทำให้หนูตาย แต่ในขนาดสูงกว่า 100 มก./กก. จะพบหนูตายเพิ่มขึ้นตามขนาดของสารที่เพิ่มขึ้น ในขนาด 500 มก./กก. พบหนูตาย 90% ภายใน 1 ชม. ค่า LD50 เท่ากับ 1,322 มก./กก. ซึ่งต่ำกว่า heparin (LD50 เท่ากับ 750 มก./กก.) ประมาณ 2 เท่า ส่วนโพลีแซคคาไรด์ที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำ ไม่พบพิษ แม้ว่าจะให้ในขนาดมากกว่า 1,000 มก./กก. กระต่ายที่กินกานพลูบดแห้ง (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) ครั้งละ 60 มก. วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ติดต่อกันนาน 5 สัปดาห์ ไม่พบพิษต่อตับ ไต และระบบเม็ดเลือด 10.2 ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ สารสกัดด้วยน้ำของกานพลู และส่วนผสมของกานพลูกับคาเฟอีน ไม่ทำให้แมลงหวี่ตัวผู้ Drosophila melanogaster ก่อกลายพันธุ์ สารสกัดด้วยอัลกอออล์จากกานพลู (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ เมื่อทดสอบใน Salmonella typhimurium TA98, TA100 และ TM677 และ Bacillus subtilis H17 และ M45 (66) แต่สารสกัดด้วยเอทานอล 95% จากดอก ทำให้เกิดการกลายพันธุ์ใน S. typhimurium TA98 และ TA102 และเมื่อทดสอบฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ของสารสกัดด้วยอัลกอฮอล์จากกานพลู (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) ใน S. typhimurium TA98 สายพันธุ์ 510 และ 4 พบว่าสารสกัดเป็นพิษต่อเชื้อดังกล่าว 10.3 ฤทธิ์ต้านการฝังตัวของตัวอ่อน น้ำมันจากใบขนาด 40 มก./กก. เมื่อป้อนให้หนูขาวเพศเมียตั้งแต่วันที่ 1 – วันที่ 10 ของการตั้งท้อง พบว่ามีฤทธิ์ต้านการฝังตัวของตัวอ่อน 20% สำหรับผักคราดหัวแหวนหลักฐานความเป็นพิษและการทดสอบความเป็นพิษ เมื่อฉีดส่วนสกัดอีเทอร์ ส่วนสกัด 70% อัลกอฮอล์ และส่วนสกัดที่ไม่ถูกสกัดด้วยอีเทอร์ จากผักคราดหัวแหวนเข้าช่องท้องหนูถีบจักร ความเข้มข้นของส่วนสกัดที่ทำให้หนูตาย 50% เท่ากับ 153 มก./กก. , 2.13 ก./กก. และ 3.5 ก./กก. ตามลำดับ ส่วนสกัดอีเทอร์มีความเป็นพิษเฉียบพลันมากที่สุด

Reference:
1.http://www.medplant.mahidol.ac.th/pubhealth/spilant.html
2.http://www.medplant.mahidol.ac.th/pubhealth/index.asp

Keywords:
-





อื่นๆ

ดูคำถามทั้งหมด
 
ข่าวยาประจำสัปดาห์ล่าสุด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้