หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

สามารถใช้ Diclofenac 25 mg เพื่อลดอาการปวดฟันได้ไหมครับเมื่อเทียบกับ ยาที่มักนิยมใช้กัน คือ Mefenamic acid กลุ่มยาตัวไหนเหมาะสมและปลอดภัยกว่ากันครับสำหรับแก้ปวดฟัน

ถามโดย ศวัส สุริยา เผยแพร่ตั้งแต่ 26/07/2024-12:44:32 -- 363 views
 

คำตอบ

Diclofenac 25 mg มีข้อบ่งใช้ในการบรรเทาอาการปวดต่าง ๆ เช่น ปวดฟัน ปวดหลัง หรือปวดกล้ามเนื้อ เป็นต้น โดยแนะนำให้ใช้ครั้งละ 1-2 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง (ขนาดยาสูงสุดไม่เกิน 150 mg/วัน) และรับประทานหลังอาหารทันที ส่วนยา mefenamic acid เป็นยากลุ่ม NSAIDs ซึ่งเป็นยากลุ่มเดียวกันกับ diclofenac ดังนั้นจึงสามารถใช้ในการลดอาการปวดจากสาเหตุต่าง ๆ ได้เช่นกัน ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพและความปลอดภัยระหว่างยา diclofenac และ mefenamic acid ในการแก้ปวดฟัน แต่มีการศึกษา meta-analysis เปรียบเทียบประสิทธิภาพในการลดอาการปวดประจำเดือนพบว่ายาทั้งสองมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน สำหรับการศึกษาเปรียบเทียบความปลอดภัยของยากลุ่ม NSAIDs มักเป็นการศึกษาผลในระยะยาว ซึ่ง mefenamic acid อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการผิดปกติในระบบทางเดินอาหารหรือโรคหลอดเลือดหัวใจได้น้อยกว่า diclofenac อย่างไรก็ตามอาการปวดฟันนั้นมักเป็นการใช้ยาระยะสั้นที่ยาทั้งสองชนิดอาจส่งผลต่อกระเพาะอาหารหรือแม้แต่โรคหัวใจและหลอดเลือดได้ไม่มาก ยกเว้นผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคดังกล่าวเป็นพื้นฐาน ดังนั้นหากไม่มีข้อห้ามใช้ยาหรือไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคที่เป็นอาการไม่พึงประสงค์ของยากลุ่ม NSAIDs จะสามารถเลือกใช้ยาชนิดใดก็ได้ในการบรรเทาอาการปวดฟัน แต่หากมีปัจจัยเสี่ยง เช่น มีแผลในกระเพาะอาหาร อาจพิจารณาใช้ยาในกลุ่ม selective COX-2 inhibitors เช่น celecoxib หรือ etoricoxib ร่วมกับการใช้ยาในกลุ่ม PPIs

Reference:
Glenwood GmbH. Package leaflet: Difene 25 mg capsules [Internet]. 2022 [cited 2024 Aug 15]. Available from: https://www.hpra.ie/img/uploaded/swedocuments/6166f0d9-3219-4f47-ae68-b32385b629b8.pdf.

Feng X, Wang X. Comparison of the efficacy and safety of non-steroidal anti-inflammatory drugs for patients with primary dysmenorrhea: A network meta-analysis. Mol Pain. 2018.

Lai EC-C,  Shin J-Y,  Kubota K, et al.  Comparative safety of NSAIDs for gastrointestinal events in Asia-Pacific populations: A multi-database, international cohort study. Pharmacoepidemiol Drug Saf.  2018; 27: 1223–1230.

Kim SY, Solomon DH. Pharmacotherapy: comparative safety of nonsteroidal anti-inflammatory drugs. Nat Rev Cardiol. 2011;8(4):193-195.

Al-Saeed A. Gastrointestinal and Cardiovascular Risk of Nonsteroidal Anti-inflammatory Drugs. Oman Med J. 2011;26(6):385-391.

Keywords:
Diclofenac, Mefenamic acid, ปวดฟัน





ทางเดินอาหาร

ดูคำถามทั้งหมด
 
ข่าวยาประจำสัปดาห์ล่าสุด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้