หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

US FDA อนุมัติการใช้ยา Milnacipran ในการรักษาภาวะไฟโบรมัยอัลเจีย

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 4 เดือน มกราคม ปี 2552 -- อ่านแล้ว 3,827 ครั้ง
 
14 มกราคม : Milnacipran (Savella® Forest Laboratories and Cypress Bioscience) ซึ่งเป็นยาในกลุ่ม serotonin and norepinephrine reuptake inhibitor (SNRI) ผ่านการรับรองข้อบ่งใช้โดย US FDA เพื่อการรักษาภาวะไฟโบรมัยอัลเจีย และคาดว่าจะวางจำหน่ายได้ภายในเดือนมีนาคมนี้

ไฟโบรมัยอัลเจีย เป็นกลุ่มอาการที่มีลักษณะเฉพาะคือ อาการปวดเรื้อรังทั่วทั้งตัว (chronic widespread pain) และสมรรถภาพในการทำงานของร่างกายลดลง (decreased physical function) American College of Rheumatoloty คาดว่า ในประเทศสหรัฐอเมริกา อาจมีผู้ป่วยไฟโบรมัยอัลเจียจำนวนสูงถึง 6 ล้านคน ในปัจจุบัน

จากการศึกษาทางคลินิกในเฟสที่ 3 ถึงประสิทธิภาพของยา และประเมินผลโดยวิธี ‘composite responder analysis’ ในผู้ป่วยไฟโบรมัยอัลเจีย 2,084 ราย (ผลรวมของ 2 การศึกษา ระยะเวลา 6 เดือน และ 3 เดือน) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ได้รับยา Milnacipran 1,460 ราย เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก 624 ราย พบว่า Milnacipran ขนาด 100 มิลลิกรัมต่อวัน และ 200 มิลลิกรัมต่อวัน ช่วยทำให้อาการปวดดีขึ้น อาการโดยรวมดีขึ้น(จากการประเมินโดยผู้ป่วย) และสมรรถภาพการทำงานของร่างกายดีขึ้น นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังทนต่อยาได้ดี อาการข้างเคียงที่พบบ่อยที่สุดคือ คลื่นไส้ ส่วนอาการข้างเคียงอื่นที่พบ ได้แก่ ท้องผูก ร้อนวูบวาบ เหงื่ออกมาก อาเจียน ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว ปากแห้ง และความดันโลหิตสูง แต่อาการเหล่านี้มีระดับความรุนแรงเพียงเล็กน้อยถึงปานกลางเท่านั้น

แม้ว่าจะยังไม่ทราบถึงกลไกที่แน่ชัด แต่นักวิจัยส่วนใหญ่เชื่อว่า ไฟโบรมัยอัลเจียน่าจะมีสาเหตุจากความผิดปกติของสารสื่อในระบบประสาทส่วนกลาง และอาจเป็นเพราะ Milnacipran สามารถยับยั้งการเก็บกลับของสารสื่อประสาท serotonin และ norepinephrine (ในหลอดทดลอง : Milnacipran มีความจำเพาะเจาะจงต่อ norepinephrine มากกว่า) สารสื่อทั้งสองจึงมีระดับเพิ่มสูงขึ้น และทำให้ผู้ป่วยไฟโบรมัยอัลเจียมีอาการดีขึ้นในที่สุด
 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.3 ยาชุด Non-prescribed polypharmacy

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้