หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อัตราความเสี่ยงในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการฆ่าตัวตายในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่มกันชัก (Antiepilept

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 1 เดือน กุมภาพันธ์ ปี 2551 -- อ่านแล้ว 2,628 ครั้ง
 
คณะกรรมการอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกา ได้รายงานอัตราความเสี่ยงในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการฆ่าตัวตายในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่มกันชัก (Antiepileptic drugs)

โดยพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่มนี้จะมีอัตราความเสี่ยงในการมีพฤติกรรมการฆ่าตัวตายและมีความคิดในการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น 2 เท่าเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (0.43% และ 0.22% ในกลุ่มที่ได้รับยากันชักและกลุ่มที่ได้รับยาหลอกตามลำดับ) พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยสามารถสังเกตได้หลังจากที่เริ่มได้รับยาแล้ว 1 สัปดาห์ถึง 24 สัปดาห์ นอกจากนี้ยังพบว่าความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายในกลุ่มที่ยาเพื่อรักษาโรคลมชักสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับยาเพื่อรักษาโรคจิตเวช (psychiatric) ดังนั้นบุคลากรทางการแพทย์จึงควรติดตามผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดโดยสังเกตพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงรวมถึงภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วย สำหรับรายการยาที่มีรายงานความเสี่ยงมีดังนี้

Carbamazepine (marketed as Carbatrol, Equetro, Tegretol, Tegretol XR)

Felbamate (marketed as Felbatol)

Gabapentin (marketed as Neurontin)

Lamotrigine (marketed as Lamictal)

Levetiracetam (marketed as Keppra)

Oxcarbazepine (marketed as Trileptal)

Pregabalin (marketed as Lyrica)

Tiagabine (marketed as Gabitril)

Topiramate (marketed as Topamax)

Valproate (marketed as Depakote, Depakote ER, Depakene, Depacon)

Zonisamide (marketed as Zonegran)

 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.3 ยาชุด Non-prescribed polypharmacy

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้