Direct acting antivirals (DAAs)…จุดจบของไวรัสตับอักเสบซี?
ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 1 เดือน ตุลาคม ปี 2559 -- อ่านแล้ว 6,317 ครั้ง
โรคไวรัสตับอักเสบซีเกิดจากการติดเชื้อ hepatitis C virus (HCV) ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ ชนิดที่พบมากเป็นสายพันธุ์ 1 (HCV genotype 1) โรคไวรัสตับอักเสบซีที่เป็นเรื้อรังจะทำให้เกิดโรคตับแข็งและโรคมะเร็งตับได้ ยามาตรฐานที่ใช้รักษาคือ pegylated interferon (Peg-IFN) ร่วมกับ ribavirin การรักษาการติดเชื้อ HCV แต่ละสายพันธุ์จะใช้ยาและระยะเวลาที่แตกต่างกัน ซึ่งสายพันธุ์ 1 รักษายากกว่าสายพันธุ์อื่น ให้อัตราการตอบสนอง (sustained virological response; SVR) เพียง 40-50% การใช้ IFN มีอาการไม่พึงประสงค์และข้อจำกัดมาก
Direct acting antivirals (DAAs) เป็นยากลุ่มใหม่ที่ใช้รักษาโรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง ออกฤทธิ์โดยตรงในการยับยั้งกระบวนการต่างๆ ในวงจรชีวิตของ HCV แบ่งเป็นกลุ่มย่อยต่างๆ ตามการออกฤทธิ์ในการยับยั้ง HCV-coding proteins ได้แก่ NS3/4A protease inhibitors (เช่น telaprevir, boceprevir), NS5A inhibitors (เช่น daclatasvir, ledipasvir, ombitasvir) และ NS5B polymerase inhibitors (มีทั้ง nucleoside polymerase inhibitors เช่น sofosbuvir และ non-nucleoside polymerase inhibitors เช่น dasabuvir) DAAs มีประสิทธิภาพมากในการกำจัด HCV สามารถกำจัดเชื้อนี้ในผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังที่มีพังผืดในเนื้อตับ โดยใช้ร่วมกับยาต้านไวรัสชนิดอื่นหรือใช้ร่วมกันเองในกลุ่ม DAAs อย่างไรก็ตาม ไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่ายาช่วยให้ภาวะพังผืดในเนื้อตับดีขึ้นและไม่ได้ช่วยขัดขวางการเกิดโรคมะเร็งตับ ในการใช้ร่วมกับ Peg-IFN และ ribavirin จะให้อัตรา SVR เพิ่มขึ้นอย่างมาก (มากกว่า 90%) อย่างไรก็ตาม ยาสูตรดังกล่าวยังมีปัญหาเรื่องอาการไม่พึงประสงค์จาก IFN จนเป็นเหตุให้ผู้ป่วยบางรายต้องหยุดใช้ยา ต่อมาเมื่อมีการพัฒนา DAAs ชนิดใหม่ๆ ออกมาใช้ การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังจึงพัฒนามาสู่ interferon-free oral therapy ซึ่งให้ประสิทธิผลดี แม้ว่าการค้นพบ DAAs จะเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ในการเอาชนะต่อ HCV แต่การรักษาด้วย DAAs มีค่าใช้จ่ายสูงเนื่องจากยามีราคาแพงและมีผู้ป่วยประมาณ 5% ที่กลับมาเป็นซ้า ผู้ที่กลับมาเป็นซ้ำเหล่านั้นอาจให้การตอบสนองต่อยาสูตรผสมอื่นที่เปลี่ยนชนิดยา DAA หรือเพิ่ม DAA ชนิดอื่นลงไป ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการศึกษาในเรื่องดังกล่าว
อ้างอิงจาก:
(1) Tamori A, Enomoto M, Kawada N. Recent advances in antiviral therapy for chronic hepatitis C. Mediators Inflamm 2016. doi: 10.1155/2016/6841628; (2) Zopf S, Kremer AE, Neurath MF, Siebler J. Advances in hepatitis C therapy: what is the current state - what come’s next? World J Hepatol 2016;8:139-47; (3) Banerjee D, Reddy KR. Review article: safety and tolerability of direct-acting antiviral agents in the new era of hepatitis C therapy. Aliment Pharmacol Ther 2016;43:674-96.
คำค้นที่เกี่ยวข้อง:
hepatitis C virus
HCV
genotype 1
direct acting antiviral
DAA
HCV-coding protein
NS3/4A protease inhibitor
telaprevir
boceprevir
NS5A inhibitor
daclatasvir
ledipasvir
ombitasvir
NS5B polymerase inhibitor
sofosbuvir
dasabuvir
dual thera