เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


คุมกำเนิดอย่างไรดีในช่วงโรคระบาด


อาจารย์ ดร.ภก.วสุ ศุภรัตนสิทธิ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


ภาพประกอบจาก: https://www.pngfind.com/pngs/m/15-158745...opment.png
อ่านแล้ว 8,853 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 09/04/2563
อ่านล่าสุด 7 ช.ม.ที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 


ปฏิเสธไม่ได้ว่าการระบาดของโควิด-19 (COVID-19) ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตรอบด้าน แต่ในผลกระทบที่เกิดขึ้นอาจเป็นสาเหตุทำให้ประชาชนอยู่บ้านหรือที่พักส่วนตัวกันมากขึ้น มีเวลาพักผ่อน ไม่ต้องเผชิญปัญหาการจราจรติดขัดในทุกๆ วัน สามารถใช้ชีวิตกับสมาชิกในครอบครัวได้เพิ่มขึ้น ทำกิจกรรมที่มีความสนใจภายในบ้านหรือที่พักได้ รวมถึงโอกาสที่อาจจะทำให้คู่รักหลายคู่ได้ใช้เวลาร่วมกันมากขึ้น อย่างไรก็ตามจะต้องคำนึงถึงสภาพเศรษฐกิจและสภาพคล่องในระยะยาว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องวางแผนครอบครัว และหนึ่งในตัวช่วยนั้นก็คือ การคุมกำเนิด 
 
ภาพจาก : https://ichef.bbci.co.uk/images/ic/704xn/p06sfv7m.jpg 
มีเพศสัมพันธ์อย่างไรให้ปลอดภัยในช่วงนี้ 
ในช่วงที่โควิด-19 ระบาดเช่นนี้ มีงานวิจัยมากมายรายงานโอกาสพบเชื้อที่บริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นระบบทางเดินหายใจ ระบบขับถ่ายของเสียทางลำไส้ใหญ่ซึ่งจะออกไปทางทวารหนัก รวมไปถึงน้ำตาและเลือด แต่ไม่พบในปัสสาวะและบริเวณช่องคลอด อย่างไรก็ตามมีโอกาสที่คู่รักจะหายใจรดกันระหว่างมีเพศสัมพันธ์อยู่แล้ว การใส่หน้ากากอนามัยขณะที่มีการเคลื่อนไหวของร่างกายสามารถทำให้หน้ากากเลื่อนออกไม่กระชับเข้ากับใบหน้า ส่งผลให้ไม่สามารถป้องกันได้อย่างสมบูรณ์ นอกจากนั้นหากคำนึงถึงการฝากครรภ์ จำเป็นที่จะต้องเดินทางไปยังโรงพยาบาลซึ่งมีโอกาสจะสัมผัสเชื้อได้สูงตั้งแต่ขณะเดินทาง การทำหัตถการต่างๆ ขณะคลอดอาจทำให้เสี่ยงต่อทารกและแม่ที่จะติดเชื้อได้ ปัจจุบันยังไม่พบรายงานการติดเชื้อขณะคลอด ทั้งนี้อาจจะมีสาเหตุมาจากข้อมูลและตัวอย่างที่จำกัด 
การป้องกันแต่แรกคือ งดการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งในช่วงเวลานี้อาจจะเริ่มจากการกักตัว 14 วันเป็นอย่างต่ำตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อจากคู่รัก การคุมกำเนิดจึงมีบทบาทสำคัญในการลดการแพร่กระจายของเชื้อได้ อีกทั้งยังต้องคำนึงถึงโอกาสการติดเชื้ออื่นทางเพศสัมพันธ์ด้วย เพื่อให้การมีเพศสัมพันธ์เป็นไปอย่างปลอดภัย 
วิธีคุมกำเนิดแบบต่างๆ ที่เหมาะสม 
วิธีในการคุมกำเนิดนั้นมีหลายรูปแบบด้วยกัน ไม่ว่าจะไม่ใช้อุปกรณ์หรือยาใดๆ เพิ่มเติม ได้แก่ การหลั่งภายนอก หรือการนับระยะปลอดภัย ไปจนถึงการใช้อุปกรณ์เพิ่มเติม เช่น การใส่ห่วงอนามัย การใช้ถุงยางอนามัย รวมไปถึงการใช้ยาคุมกำเนิดซึ่งมีหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น ยาฉีด ยาฝังใต้ผิวหนัง ยาแผ่นแปะผิวหนัง และยารับประทาน อย่างไรก็ตามผู้เขียนไม่แนะนำให้ใช้การรับประทานยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินในการคุมกำเนิดทั่วไป เนื่องจากจะเป็นการรับประทานฮอร์โมนสังเคราะห์ขนาดสูง ทำให้เกิดผลข้างเคียงต่างๆ ตามมาได้มาก และมีข้อจำกัดในการใช้อีกมากมาย เช่น ไม่สามารถใช้วิธีนี้เกิน 2 ครั้งภายใน 1 เดือน เป็นต้น ในส่วนของประสิทธิภาพของแต่ละวิธี ข้อดีและข้อควรระวังสามารถดูเพิ่มเติมได้จากตารางด้านล่างนี้ ซึ่งผู้ที่สนใจคุมกำเนิดสามารถเปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย เลือกได้ตามความเหมาะสม และความชอบส่วนบุคคล 
 
 
 
 
 
 
 
จะเห็นได้ว่าการคุมกำเนิดในปัจจุบันส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับฝ่ายหญิง ในขณะที่ฝ่ายชายมีเพียงการหลั่งภายนอกและการใช้ถุงยางอนามัย ไม่เช่นนั้นก็อาจจะต้องทำหมันเลย อย่างไรก็ตามในอนาคตกันใกล้นี้ น่าจะได้เห็นยาคุมกำเนิดสำหรับฝ่ายชายวางขายในร้านขายยาซึ่งอาจจะเป็นในรูปแบบยาแผ่นแปะผิวหนังหรือยารับประทาน 
สุดท้ายนี้ผู้เขียนอยากฝากไว้โดยเฉพาะการใช้ยาทุกครั้งควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เช่น แพทย์ หรือเภสัชกร เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้ยากับท่านเอง และอย่าลืมว่า “มีปัญหาเรื่องยา ปรึกษาเภสัชกรนะครับ” 
บทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม 
ยาเลื่อนประจำเดือน .. ที่นี่มีคำตอบ 
ยาคุมฉุกเฉิน ... เรื่องจริงที่ผู้หญิงต้องรู้ 
ความรู้ทั่วไปเรื่องยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน 
 

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. Chen, Dunjin et al. 2020. “Expert Consensus for Managing Pregnant Women and Neonates Born to Mothers with Suspected or Confirmed Novel Coronavirus (COVID-19) Infection.” International journal of gynaecology and obstetrics: the official organ of the International Federation of Gynaecology and Obstetrics.
  2. Guo, Yan-Rong et al. 2020. “The Origin, Transmission and Clinical Therapies on Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) Outbreak - an Update on the Status.” Military Medical Research 7(1): 11.
  3. Kliegman, Robert M, and Joseph S Geme. 2019. Nelson Textbook of Pediatrics E-Book. Elsevier Health Sciences. https://books.google.co.th/books?id=LJuRDwAAQBAJ.
  4. Liang, Liang, and Ping Wu. 2020. “There May Be Virus in Conjunctival Secretion of Patients with COVID-19.” Acta ophthalmologica.
  5. Mullins, E et al. 2020. “Coronavirus in Pregnancy and Delivery: Rapid Review.” Ultrasound in Obstetrics & Gynecology. https://obgyn.onlinelibrary.wiley.com/doi/abs/10.1002/uog.22014.
  6. Qiu, Lin et al. 2020. “SARS-CoV-2 Is Not Detectable in the Vaginal Fluid of Women with Severe COVID-19 Infection.” Clinical infectious diseases: an official publication of the Infectious Diseases Society of America.
  7. Robbins, Cynthia L, and Mary A Ott. 2017. “Contraception Options and Provision to Adolescents.” Minerva pediatrica 69(5): 403–14.
  8. Wang, Wenling et al. 2020. “Detection of SARS-CoV-2 in Different Types of Clinical Specimens.” JAMA.
  9. Yuen, Fiona, Brian T Nguyen, Ronald S Swerdloff, and Christina Wang. 2020. “Continuing the Search for a Hormonal Male Contraceptive.” Best practice & research. Clinical obstetrics & gynaecology.
เปิดอ่านด้วย Google Doc Viewer ดาวน์โหลดบทความ (pdf) ดูบทความอื่นๆ

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


มะระขี้นก 1 นาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คำเตือน บทความ/ข้อมูล/สื่อ ในรูปแบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ผลิตโดยมหาวิทยาลัยมหิดล มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนและสังคม โดยไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือประกอบการทำใดๆ อันผิดกฎหมาย หากหน่วยงานใดมีความประสงค์ใช้สื่อทุกรูปแบบของมหาวิทยาลัยมหิดลเพื่อเผยแพร่ในนามของหน่วยงาน ขอให้ติดต่อขออนุญาตมาที่ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ploypann.chi@mahidol.edu , kulwadee.kit@mahidol.edu) หากมีข้อสงสัยประการใดโปรดสอบถามที่โทร. 02 849 6056 - 7

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้