Knowledge Article


ยาไอซ์ (Ice)


ภญ.กิตติมา วัฒนากมลกุล
ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
481,216 View,
Since 2012-01-22
Last active: 15m ago

Scan to read on mobile device
 
A - | A +
เป็นรูปแบบหนึ่งของ Methamphetamine หรือยาบ้า เนื่องจากมีรูปพรรณเป็นก้อนผลึกใสเหมือนน้ำแข็ง จึงมีชื่อเรียกขานในหมู่ผู้เสพว่า “ไอซ์” (Ice) เนื่องจากยาไอซ์มีความบริสุทธิ์เกือบ 100% จึงมีฤทธิ์แรงกว่ายาบ้า (บางคนเรียกว่า หัวยาบ้า) ส่วนใหญ่เป็นการจับกุมจากชาวต่างประเทศที่ลักลอบเข้ามาในประเทศไทย การลับลอบสังเคราะห์แอมเฟตามีนและเมทแอมเฟตามีนนั้น อาศัยขบวนการทางเคมีอย่างง่ายๆ ไม่มีความสลับซับซ้อน และสามารถทำตามวิธีสังเคราะห์ที่เขียนไว้เป็นสูตรสำเร็จ ซึ่งถ่ายทอดต่อกันมาในวงการ สารตั้งต้นของการผลิตมักเป็นอีพีดรีน ซูโดอีฟรีดีน ฯลฯ นิยมเสพโดยการนำผลึกลนไฟให้ระเหิด แล้วสูดไอของผลึกที่ได้เข้าปอด การออกฤทธิ์ก็จะผิดกับการเสพยาบ้าที่ใช้ลนไฟ เพราะการสูดควันของยาบ้าจะให้สารหลายอย่างซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายมากกว่า ขณะที่การสูดไอของยาไอซ์จะได้เฉพาะ methamphetamine หรือ amphetamine เท่านั้น นอกจากนี้เมื่อเผาไหม้แล้วจะไม่มีกลิ่น จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522

ยาไอซ์กระตุ้นประสาททำให้รู้สึกตื่นตัว บดบังความรู้สึกเหนื่อยล้า รู้สึกเคลิ้มฝัน อยู่นิ่งไม่ได้ นอนไม่หลับ ก้าวร้าวและรู้สึกเชื่อมั่นในตัวเองเกินไป ถ้าเสพในขนาดยาที่สูงยังเพิ่มความต้องการทางเพศ ซึ่งอาจนำไปสู่การสำส่อนทางเพศซึ่งอาจนำไปสู่การติดเชื้อเอดส์ได้ นอกจากนี้ทำให้ระบบประสาทส่วนกลางถูกกระตุ้นอย่างแรง เซลล์สมองจะถูกทำลาย ทำให้เกิดอาการซึมเศร้าหลังการใช้ยา และพบว่าผู้เสพมีแนวโน้มในการการฆ่าตัวตายในระหว่างการใช้ยา ผลจากการเสพยาเสพติดมากเกินขนาดจะทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อเกร็งตัว ตื่นตกใจกลัว ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจชักหรือหมดสติ ระบบหายใจล้มเหลว ช็อกและเสียชีวิตได้ การใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดภาวะโรคจิตเช่นเดียวกับสารกระตุ้นประสาทตัวอื่นๆ มีความแตกต่างจากผู้เสพยาบ้า คือหลังเสพยาไอซ์จะมีความสดชื่นมีชีวิตชีวาไม่ซูบโทรมเหมือนยาบ้า คนที่เสพยานี้มักจะดูไม่ออกเพราะหน้าตาจะเบิกบานไม่เหมือนคนเสพยาทั่วๆไป ยาตัวนี้ไม่ได้มีแพร่หลายกันทั่วไปเนื่องจากหายากและราคาค่อนข้างสูง้

เอกสารอ้างอิง

  1. กองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักคณะกรรมการอาหารและยา. ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับยา ice (ไอซ์). [Online]; 2006. Available form: http://www.nct.ago.go.th/knowledge_drug.html [Accessed 2011 Aug 19]
  2. ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติด เชียงใหม่. ข้อมูลเกี่ยวกับยาไอช์ [Online]; 2007. Available form: http://www.drugcare.net/webboard.php?iMMode=preview&iQID=24&iGID=3 [Accessed 2011 Aug 19]
Others articles

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้

Public Knowledge Articles



View all articles
-->

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

Faculty of Pharmacy, Mahidol University.

447 Sri-Ayuthaya Road, Rajathevi, Bangkok 10400, THAILAND
Designed & Developed by Department of Information Technology, Faculty of Pharmacy, Mahidol University.
Copyright © 2013-2020
 

We use Cookies

This site uses cookies to personalise your experience and analyse site traffic. By Clicking ACCEPT or continuing to browse the site you are agreeing to our use of cookies.