Knowledge Article


บรรจุภัณฑ์บ่งชี้ร่องรอยการแกะ (Tamper-Evident Packaging): ตอนที่ 7


รศ. ดร. สมบูรณ์ เจตลีลา
ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
24,712 View,
Since 2011-12-12
Last active: 2h ago
https://tinyurl.com/yv436l8o
Scan to read on mobile device
 
A - | A +
ฝาพลาสติก

เมื่อปิดผนึกภาชนะด้วยฝาพลาสติก การเข้าถึงผลิตภัณฑ์ได้นั้น จะต้องทำฝาให้ฉีกขาดอย่างสมบูรณ์เมื่อเอาออกจากภาชนะ หรือทิ้งส่วนของฝาไว้ที่ภาชนะ ฝาหรือส่วนของฝาจะต้องฉีกขาดเพื่อเปิดภาชนะหรือนำเอาผลิตภัณฑ์ออกมา ภาชนะและฝาที่ถูกแกะจะต้องไม่อยู่ในสภาพเดิม1, 2 ดังนั้นเมื่อมีการแกะฝาออกก็จะเห็นขวดที่มีฝาในลักษณะที่ฉีกขาดทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนถึงมือเรา ในตอนนี้จะกล่าวถึงฝาพลาสติกที่น่าสนใจ3 แบบด้วยกัน เพื่อนำมาศึกษาลักษณะพื้นฐานที่น่าสนใจ

ฝาพลาสติก

ฝาเกลียวกันขโมยชั้นเดียว มีลักษณะคล้ายกับฝาโลหะขึ้นรูปเกลียวกันขโมยที่กล่าวถึงในตอนที่แล้ว ผลิตจากพลาสติกหลอมที่ขึ้นรูปฝาด้วยแม่พิมพ์แบบฉีด เราจะเห็นรอยเกลียวเฉพาะข้างฝาด้านในเท่านั้น เมื่อมองด้านนอกจะเห็นริ้วเชื่อมเพื่อเลาะออก (tear-off strip) เป็นแนวชั้นเดียวที่เชื่อมระหว่างฝาด้านบนกับฝั่ง (bank) ด้านล่าง ซึ่งจะขาดง่ายเมื่อหมุนทวนเข็มนาฬิกา ส่วนฝั่งจะรัดแน่นกับคอและอยู่บนวงแหวนรอบคอ3

ฝาเกลียวกันขโมยสองชั้น

มีลักษณะคล้ายกับฝาเกลียวกันขโมยชั้นเดียว แต่จะปรากฏริ้วเชื่อมเป็นแนว 2 ชั้น ตรงกลางระหว่างแนวริ้วเชื่อมเรียก แถบ หรือ ซี่ (rib) ซึ่งจะขาดออกมาเป็นแถบเมื่อจับส่วนต้นของแถบหมุนทวนเข็มนาฬิกาจนกระทั่งแถบหลุดออก จึงสามารถเปิดฝาออกจากปากภาชนะ ผลิตจากพลาสติกหลอมที่ขึ้นรูปฝาด้วยแม่พิมพ์แบบฉีด ส่วนของฝั่งจะรัดแน่นกับคอแบบสรวมนอก (snap-on)

ฝาแบบเฟืองล้อ (Ratchet-Style Cap)

เป็นฝาพลาสติกที่ส่วนล่างเรียกเฟืองล้อ ติดกับส่วนฝาด้วยริ้วเชื่อมเพื่อเลาะออก (tear-away strip) จับเฟืองล้อให้หมุนตามเข็มนาฬิกาในทิศทางเดียวกับฟันเฟืองเฉียง (sloping teeth) ทำให้ปิดสนิทเมื่อหมุนไปสุด เมื่อต้องการเข้าถึงผลิตภัณฑ์จะต้องหมุนฝาทวนเข็มนาฬิกา ทำให้เฟืองล้อติดล็อคฟันเฟืองเฉียงและหมุนฝาได้อย่างเดียว ริ้วเชื่อมจึงขาดออกและทิ้งให้เห็นร่องรอยของเฟืองล้อล็อคคาฟันเฟือง3 ฝาชนิดนี้ออกแบบสำหรับปิดขวดยาหยอดตาปราศจากเชื้อบางยี่ห้อ ซึ่งเป็นขวดพอลิเอธิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำที่มีขีดการเด้งคืนตัวสูงหลังบีบ (high squeezability) เพื่อบีบยาหยอดตาออกมาทีละหยดจากปลายจงอยปาก นอกจากนี้ยังมีให้เห็นในฝาขวดน้ำดื่มหลายๆ ยี่ห้อ แต่ปราศจากจงอยปาก

เอกสารอ้างอิง

  1. US FDA CPG Sec. 450.500 Tamper-resistant packaging requirements for certain over-the-counter human drug products.
  2. Code of practice for the tamper-evident packaging (TEP) of therapeutic goods, 1st ed Department of Health and Aging, Australian Government. June 2003.
  3. Croce CP, Fischer A, Thomas RH. Packaging materials science. In: Lachman L, Lieberman HA, Kanig JL. The theory and practice of industrial pharmacy. 3rd ed. Philadelphia: Lea & Febiger, 1986: 711-732.
Others articles

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้

Public Knowledge Articles



View all articles
-->

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

Faculty of Pharmacy, Mahidol University.

447 Sri-Ayuthaya Road, Rajathevi, Bangkok 10400, THAILAND
Designed & Developed by Department of Information Technology, Faculty of Pharmacy, Mahidol University.
Copyright © 2013-2020
 

We use Cookies

This site uses cookies to personalise your experience and analyse site traffic. By Clicking ACCEPT or continuing to browse the site you are agreeing to our use of cookies.