Knowledge Article


กัญชาแมวคืออะไร ปลอดภัยกับแมวจริงหรือ


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สพญ. นฆรรวี แสงกลับ
ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาพประกอบจาก : https://images.newscientist.com/wp-content/uploads/2021/04/27160750/catnip_clean_4_3.jpg?crop=1:1,smart&width=1200&height=1200&upscale=true
80,111 View,
Since 2022-06-20
Last active: 1h ago
https://tinyurl.com/29f8z387
Scan to read on mobile device
 
A - | A +


กัญชาแมวคืออะไร เหมือนกับกัญชาคนหรือไม่

กัญาชาแมว หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า Catnip (ชื่อวิทยาศาสตร์ Nepeta cataria) เป็นพืชตระกูลมิ้นท์ บางคนอาจจะเรียกว่าต้นหญ้าแมวก็ได้ ที่ใบและก้านของต้นกัญชาแมวจะมีสารชื่อว่า Nepetalactone ซึ่งสารตัวนี้เองที่ทำให้แมวรู้สึกเคลิบเคลิ้ม มีความสุข บางทีก็ตื่นเต้นจนแสดงท่าทางแปลก ๆ จึงไม่แปลกที่เรามักเห็นแมวชอบกัดหรืองับต้นกัญชาแมวอยู่เสมอ ๆ เพราะว่ามันทำให้พวกเขารู้สึกดีนั่นเอง กัญชาแมวไม่ได้มีผลแค่เฉพาะในแมวเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อสัตว์ตระกูลแมวทั้งหมด เช่น เสือ สิงโต ก็สามารถฟินไปกับกัญชาแมวได้เช่นกัน



ภาพจาก : https://petkeen.com/wp-content/uploads/2021/10/tabby-cat-savoring-catnip-in-the-garden_Badon-Hill-Studio-Shutterstock.jpg

สารออกฤทธิ์ของกัญชาแมวจะถูกปล่อยออกมาเมื่อใบหรือลำต้นของกัญชาแมวถูกบดขยี้ และจับกับต่อมรับกลิ่นของเจ้าเหมียวที่บริเวณจมูก โดยจะออกฤทธิ์เปลี่ยนแปลงการทำงานของระบบประสาท และกระตุ้นให้สมองเกิดอาการเคลิ้ม โดยปกติแล้วจะออกฤทธิ์ประมาณ 5-15 นาที (หรืออาจนานกว่านี้แล้วแต่ร่างกายของน้องแมวแต่ละตัว) แต่อย่างไรก็ตาม พบว่ากัญชาแมวไม่ได้ส่งผลต่อน้องแมวทุกตัว โดย 1 ใน 3 ของน้องแมวอาจไม่ตอบสนองต่อกัญชาแมวเลยก็ได้ ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร

อีกเรื่องที่หลายคนอยากรู้ก็คือน้องแมวจะเสพติดกัญชาแมวไหม อันนี้ก็ต้องบอกว่าหายห่วงได้เลย เพราะจากการศึกษาพบว่าการให้กัญชาแมวเพียงแค่ทำให้ระดับฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจในน้องแมวเพิ่มขึ้นเท่านั้น ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากในการช่วยลดความเครียดในน้องแมว ไม่ได้ทำให้เสพติด และไม่ทำให้เกิดอาการลงแดงหรือหงุดหงิดเมื่อไม่ได้รับ รวมไปถึงตอนนี้การให้กัญชาแมวเองก็ไม่ได้ส่งผลเสียต่อสุขภาพของน้องแมวแต่อย่างใด นอกจากนี้กัญชาแมวยังมีประโยชน์อีกอย่างคือมีฤทธิ์ไล่แมลงและไล่ยุงได้ด้วย เรียกได้ว่าถ้าใครเลี้ยงแมวก็เหมาะกับการปลูกเป็นพืชประจำบ้านได้เลย

แต่อย่างไรก็ดี เนื่องจากเมื่อแมวได้รับกัญชาแมวแล้วอาจทำให้เกิดการเคลิบเคลิ้มและแสดงพฤติกรรมที่ไม่คาดคิดได้ ดังนั้นจึงมีคำแนะนำจากทาง PETA (People for the Ethical Treatment of Animals) เป็นไกด์ไลน์คร่าว ๆ ว่าไม่ควรให้กัญชาแมวบ่อยครั้งมากเกินไป (ไม่ควรเกิน 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์) และระหว่างที่ให้ควรให้น้องแมวอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยและไม่ปล่อยออกไปข้างนอกในระหว่างที่ยังมึนเมาเพื่อป้องกันอันตรายที่ไม่คาดคิดนั่นเอง

เอกสารอ้างอิง
  1. Espin-Iturbe, L. T., Lopez Yanez, B. A., Carrasco Garcia, A., Canseco-Sedano, R., Vazquez-Hernandez, M., & Coria-Avila, G. A. (2017). Active and passive responses to catnip (Nepeta cataria) are affected by age, sex and early gonadectomy in male and female cats. Behav Processes, 142, 110-115.
  2. Tucker, A.O., Tucker, S.S. Catnip and the catnip response. Econ Bot 42, 214–231 (1988).
  3. https://theconversation.com/is-it-unethical-to-give-your-cat-catnip-107774?fbclid=IwAR2iP6VAAXRKa-Fo4KPMAux_jpppFSqmqPM-6w5VBIoWgcmAO9KKRkYPets
  4. https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-831/catnip?fbclid=IwAR0yxVCsRjopVHrTr7bBNwGQVRwuVDwJjt1hP0qeZlzO2jS6CHquEfyh0gc
  5. https://www.petmd.com/cat/general-health/what-is-catnip?fbclid=IwAR3jGLIluXWuyQaAVAIE35TDJHEdJhCHkSMwpdYHE5Y6IXdtrQ_HJfHTChI

Public Knowledge Articles



View all articles
-->

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

Faculty of Pharmacy, Mahidol University.

447 Sri-Ayuthaya Road, Rajathevi, Bangkok 10400, THAILAND
Designed & Developed by Department of Information Technology, Faculty of Pharmacy, Mahidol University.
Copyright © 2013-2020
 

We use Cookies

This site uses cookies to personalise your experience and analyse site traffic. By Clicking ACCEPT or continuing to browse the site you are agreeing to our use of cookies.