ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่พบได้ในประเทศไทย มีผู้ป่วยตลอดทั้งปี แต่พบผู้ป่วยสูงสุดในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคมของทุกปี และรองลงมาคือช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคมของทุกปี อย่างไรก็ตามข้อมูลของระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้รายงานสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ ประเทศไทย พ.ศ. 2563 ประจำสัปดาห์ที่ 24 ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 20 มิถุนายน พ.ศ. 2563 พบผู้ป่วยกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่และกลุ่มอาการปอดบวมน้อยกว่าในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา และสัดส่วนของผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ลดต่ำลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่สัปดาห์ที่ 12 (เดือน มีนาคม 2563) ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลกระทบมาจากการระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 และมาตรการการป้องกันของทางภาครัฐ ได้แก่ การรักษาระยะห่างทางสังคม การสวมหน้ากากอนามัย การล้างมือบ่อยๆ เป็นต้น แต่เมื่อพิจารณาสายพันธุ์ที่ก่อโรคพบไวรัสไข้หวัดใหญ่ A/H1 2009 สูงที่สุด
1 โดยพบเป็น A/Brisbane/02/2018 (ร้อยละ 100), A/South Australia/34/2019 (ร้อยละ 100) และ B/Washington/02/2019 (Victoria lineage) (ร้อยละ 100) ในขณะที่วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่แนะนำโดยกระทรวงสาธารณสุขแนะนำวัคซีนไข้หวัดใหญ่แบบ 3 สายพันธุ์สำหรับฉีดป้องกันเริ่มตั้งแต่เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2563 คือ A/Brisbane/02/2018 (H1N1)pdm09-like virus, A/South Australia/34/2019 (H3N2)-like virus, B/Washington/02/2019-like (B/Victoria lineage) virus ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นสายพันธุ์ที่สอดคล้องกับสายพันธุ์ที่พบในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม พ.ศ. 2563 อาจมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์หรือไม่ก็ได้
ภาพจาก :
https://www.pharmaceutical-technology.com/wp-content/uploads/sites/10/2019/03/flu-vaccine.jpg การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่นั้น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ฉีดฟรีให้แก่ประชาชน 7 กลุ่ม ได้แก่
- หญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์มากกว่า 4 เดือน
- เด็ก อายุ 6 เดือน – 2 ปี (เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 6 เดือนเต็ม จนถึงอายุ 2 ปี 11 เดือน 29 วัน)
- ผู้มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค คือ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย เบาหวาน และผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด
- ผู้สูงอายุ มากกว่า 65 ปี
- ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
- โรคธาลัสซีเมียและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (รวมผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ)
- โรคอ้วน น้ำหนักตัวมากกว่า 100 กิโลกรัม หรือ ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร4,5
โดยสรุป ในปี พ.ศ. 2563 ที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 นี้ ประชาชนยังควรที่จะฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขแนะนำวัคซีนไข้หวัดใหญ่แบบ 3 สายพันธุ์สำหรับฉีดป้องกันเริ่มตั้งแต่เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2563
เอกสารอ้างอิง - กลุ่มพัฒนาระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาโรคติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ ประเทศไทย พ.ศ. 2563 ประจำสัปดาห์ที่ 24. [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2563]. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/uploads/files/1368620200710073912.pdf
- ศูนย์ไข้หวัดใหญ่แห่งชาติ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. รายงานผลการเฝ้าระวังเชื้อไข้หวัดใหญ่เฉพาะพื้นที่ของสำนักระบาดวิทยาฯ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ร่วมกับ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐ ด้านสาธารณสุข. [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2563]. สืบค้นจาก http://www.thainihnic.org/influenza/main.php?option=flulab.
- ศูนย์ไข้หวัดใหญ่แห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. รายงานการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ไข้หวัดใหญ่ระหว่าง 1 ม.ค. – 31 พ.ค. 2563. [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2563]. สืบค้นจาก http://www.thainihnic.org/influenza/main.php.
- สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. สปสช.ชวนชาว กทม. 7 กลุ่มเสี่ยงจองสิทธิ “ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ฟรี” ผ่านไลน์@ucbkk เริ่ม 1 พ.ค. นี้. [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2563]. สืบค้นจาก https://www.nhso.go.th/frontend/NewsInformationDetail.aspx?newsid=Mjc1Mg==
- สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนะกลุ่มเสี่ยงไข้หวัดใหญ่รีบรับวัคซีนป้องกันสับสนกับโควิด-19 ช่วงฤดูฝนนี้. [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2563]. สืบค้นจาก https://www.nhso.go.th/frontend/NewsInformationDetail.aspx?newsid=Mjc2Nw==
- Minor DS, Wofford MR. Chapter 45. Headache disorders. In: DiPiro JT, Talbert RL, Yee GC, Matzke GR, Wells BG, Posey L. eds. Pharmacotherapy: a pathophysiologic approach, 9 edition. McGraw-Hill. [Cited 2020 July 7]. Available from: https://accesspharmacy.mhmedical.com/content.aspx?bookid=689§ionid=45310495.
- Mody I, Lambert JD, Heinemann U. Low extracellular magnesium induces epileptiform activity and spreading depression in rat hippocampal slices. J Neurophysiol. 1987;57(3):869-88.
- Weglicki WB, Phillips TM. Pathobiology of magnesium deficiency: a cytokine/neurogenic inflammation hypothesis. Am J Physiol. 1992;263(3 Pt 2):R734-7.
- Foster AC, Fagg GE. Neurobiology. Taking apart NMDA receptors. Nature. 1987;329(6138):395-6.
- Meller ST, Gebhart GF. Nitric oxide (NO) and nociceptive processing in the spinal cord. Pain. 1993;52(2):127-36.
- von Luckner A, Riederer F. Magnesium in migraine prophylaxis-Is there an evidence-based rationale? A systematic review. Headache. 2018;58(2):199-209.
- Sulli MM, Ezzo DC. Drug interactions with vitamins and minerals. US Pharm 2007;1:42-55.
- แมกนีเซียม. [อินเทอร์เน็ต] [เข้าถึงเมื่อ 10 กรกฎาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://porta.fda.moph.go.th/FDA_SEARCH_ALL/MAIN/SEARCH_CENTER_MAIN.aspx