Knowledge Article


นอนไม่หลับ...อาจเกิดจากยา


อาจารย์ ดร.ภก. สุรศักดิ์ วิชัยโย
ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาพประกอบจาก : https://sleephub.com.au/wp-content/uploads/2015/03/bigstock-183739108-e1551036783638.jpg
35,531 View,
Since 2019-10-27
Last active: 1 days ago

Scan to read on mobile device
 
A - | A +


คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการนอนหลับอย่างเพียงพอนั้น ทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น อารมณ์แจ่มใส และพร้อมสำหรับการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในทุกๆวัน ซึ่งในวัยผู้ใหญ่โดยเฉลี่ยควรนอนหลับประมาณวันละ 7-8 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม มีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่พบกับปัญหานอนไม่หลับ ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การเดินทางข้ามทวีป (ที่เรียกว่า jet lag) หรือ เกิดจากความเครียด หรือโรคต่างๆ เป็นต้น ทำให้ตื่นเช้ามาด้วยอารมณ์หงุดหงิดและไม่มีสมาธิในการทำงาน นอกจากนี้ การนอนไม่หลับอาจเกิดจากยาซึ่งหลายคนอาจไม่ทราบ ในบทความนี้จึงได้นำเสนอตัวอย่างยาที่มีโอกาสทำให้นอนไม่หลับ เพื่อให้ผู้ป่วยได้สังเกตตัวเองขณะกำลังใช้ยาเหล่านี้

ยาอะไรบ้างที่อาจทำให้นอนไม่หลับ

เนื่องจากการนอนหลับถูกควบคุมด้วยสมอง เช่น สมองมีการหลั่งสารต่างๆ เพื่อทำให้รู้สึกง่วง เป็นต้น ดังนั้น ยาที่อาจทำให้นอนไม่หลับส่วนใหญ่จะต้องผ่านเข้าไปในสมองแล้วส่งผลรบกวนกระบวนการดังกล่าว เช่น ยามีฤทธิ์กระตุ้นสมองโดยเพิ่มการทำงานของสารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับการตื่นตัว หรือยาอาจลดการทำงานของสารสื่อประสาทที่ช่วยให้หลับ เป็นต้น ซึ่งมักเป็นยาที่ใช้รักษาโรคทางระบบประสาทและจิตเวท นอกจากนี้ ยากลุ่มอื่นๆ เช่น ยาแก้คัดจมูก หรือยาฆ่าเชื้อบางชนิด ก็อาจทำให้เกิดอาการนี้ได้เช่นกัน ดังแสดงในตาราง ซึ่งผู้ป่วยสามารถตรวจสอบชื่อยาเหล่านี้บนแผงยาหรือฉลากยาด้วยตัวเอง



ทำอย่างไรเมื่อสงสัยว่านอนไม่หลับจากยา

หากสงสัยว่ายาที่กำลังใช้อยู่เป็นสาเหตุให้นอนไม่หลับ ควรปรึกษาแพทย์ที่สั่งจ่ายยา หรือเภสัชกรจากโรงพยาบาลที่ได้รับยา หรือเภสัชกรประจำร้านยาใกล้บ้าน เพื่อช่วยประเมินว่าอาจเกิดจากยาจริงหรือไม่ ซึ่งหากพบว่าเกิดจากยา แพทย์อาจปฏิบัติดังนี้
  • ปรับลดขนาดยา
  • เปลี่ยนเวลารับประทานยา เช่น เปลี่ยนเป็นช่วงเช้า
  • เปลี่ยนเป็นยาชนิดอื่น
  • ให้ยาช่วยหลับ ในบางกรณี


อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะพบว่ายาที่กำลังใช้เป็นยาที่อาจทำให้นอนไม่หลับก็ไม่ควรตื่นตระหนกหรือระแวง เพราะอาการนอนไม่หลับจากยาเหล่านี้ไม่ได้เกิดกับทุกคน และไม่ควรปรับเปลี่ยนยาด้วยตนเอง นอกจากนี้ ไม่ควรนำยาเหล่านี้มาใช้แก้ง่วง ซึ่งถือเป็นการใช้ยาในทางที่ผิดจนอาจได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิต

เอกสารอ้างอิง
  1. Van Gastel A. Drug-Induced Insomnia and Excessive Sleepiness. Sleep Medicine Clinics. 2018;13(2):147-159.
  2. Wichniak A, Wierzbicka A, Wal?cka M, Jernajczyk W. Effects of Antidepressants on Sleep. Current Psychiatry Reports. 2017;19(9).
  3. Sangal R, Owens J, Allen A, Sutton V, Schuh K, Kelsey D. Effects of Atomoxetine and Methylphenidate on Sleep in Children With ADHD. Sleep. 2006;29(12):1573-1585.
  4. Foral P, Knezevich J, Dewan N, Malesker M. Medication-Induced Sleep Disturbances. The Consultant Pharmacist. 2011;26(6):414-425.
  5. Malangu N. Drugs Inducing Insomnia as an Adverse Effect [Internet]. Cdn.intechopen.com. 2012 [cited 6 October 2019]. Available from: http://cdn.intechopen.com/pdfs/32270/InTech-Drugs_inducing_insomnia_as_an_adverse_effect.pdf
  6. Eddy M, Walbroehl G. Insomnia [Internet]. Aafp.org. 2019 [cited 6 October 2019]. Available from:https://www.aafp.org/afp/1999/0401/p1911.html
Others articles

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้

Public Knowledge Articles



View all articles
-->

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

Faculty of Pharmacy, Mahidol University.

447 Sri-Ayuthaya Road, Rajathevi, Bangkok 10400, THAILAND
Designed & Developed by Department of Information Technology, Faculty of Pharmacy, Mahidol University.
Copyright © 2013-2020
 

We use Cookies

This site uses cookies to personalise your experience and analyse site traffic. By Clicking ACCEPT or continuing to browse the site you are agreeing to our use of cookies.